วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น



ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น

ทฤษฎีดนตรีสากลเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องศึกษาเพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานสู่การปฏิบัติเครื่องดนตรีโน้ตดนตรีสากลและเครื่องหมายต่างๆ คือสัญลักษณ์ที่ให้ปฏิบัติ ดังนั้นทฤษฎีดนตรีสากลจึงควรศึกษาและฝึกเพื่อให้เกิดทักษะ ปฏิบัติจนเกิดความคล่องแคล่วด้วยความเข้าใจ

สาระการเรียนรู้
ทฤษฎีดนตรีสากล

กิจกรรฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
1. อธิบายทฤษฎีดนตรีสากลขันพื้นฐานได้
2. อ่าน เขียน สัญลักษณ์ต่างๆ ของดนตรีสากล และบันทึกโน้ตดนตรีสากลได้


ทฤษฎีดนตรีสากล
1. บรรทัดห้าเส้น (Staff)
บรรทัดห้าเส้น (Staff) ประกอบด้วยเส้นตรงขนานกันจำนวน 5 เส้น และช่องบรรทัดจำนวน 4 ช่อง โดยเส้นบรรทัดมีระยะห่างเท่ากัน การนับเส้นหรือบรรทัดห้าเส้นให้นับตามลำดับจากล่างไปบนโดยนับเส้นหรือช่องล่างสุดเป็น 1 2 3 4 5 ตามลำดับ ในการบันทึกตัวโน้ตและสัญลักษณ์ต่างๆ ทางดนตรีสากลจะบันทึกบนบรรทัดห้าเส้นเป็นหลัก


 2. ตัวโน้ต (Note)
ตัวโน้ต เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกแทนระดับเสียง และความยาวของเสียง ส่วนประกอบสำคัญของตัวโน้ต ได้แก่ ส่วนหัวตัวโน้ต และส่วนหางตัวโน้ต ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะโน้ตต่างๆ

2.1 เมื่อตัวโน้ตอยู่ต่ำกว่าเส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ขึ้น
2.2 เมื่อตัวโน้ตอยู่สูงกว่าเส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ลง
2.3 เมื่อกลุ่มตัวโน้ตอยู่เส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ขึ้นหรือลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลุ่มตัวโน้ต

การรวบรวมหางตัวเขบ็ต
โน้ตตัวเขบ็ตลักษณะเดียวกัน เช่น ตัวเขบ็ต 1 ชั้น หรือตัวเขบ็ต 2 ชั้น สามารถเขียนหางตัวโน้ตรวบรวมเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบง่ายต่อการอ่าน

3. ค่าตัวโน้ต
ค่าตัวโน้ต ลักษณะตัวโน้ตมีหลายลักษณะ ค่าตัวโน้ตลักษณะต่างๆ สามารถเปรียบเทียบค่าความยาวโน้ต และมีชื่อเรียกลักษณะโน้ตต่างๆ ดังนี้

ภูมิเปรียบเทียบค่าตัวโน้ต


แผนภูมเปรียบเทียบค่าตัวโน้ต


ตารางเปรียบเทียบค่านับ


จะเห็นว่าค่าจังหวะนับของโน้ตตัวกลมมากที่สุด ตัวขาว ตัวดำ ตัวเขบ็ต 1 ชั้น ตัวเขบ็ต 2 ชั้นและตัวเขบ็ต 3 ชั้น จะมีค่าลดลงทีละครั้งตามลำดับ เช่น


4. ตัวหยุด (Rest)
ตัวหยุด คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่กำหนดให้เงียบเสียงหรือไม่ให้เล่นในระยะ เวลาตาม
ค่าตัวหยุดนั้นๆ ตัวหยุดมีหลายชนิดสอดคล้องกับตัวโน้ตลักษณะต่างๆ

ตัวหยุดลักษณะต่างๆ ตามค่าตัวโน้ต

5. เส้นน้อย (Leger Lines)
เส้นน้อย คือ เส้นสั้นๆ ที่อยู่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าบรรทัดห้าเส้น มีระยะห่างเท่ากับบรรทัดห้าเส้นโน้ตที่อยู่ต่ำหรือสูงมากๆ จะต้องอาศัยเส้นน้อยตามลำดับ เช่นโน้ตที่คาบเส้นจะเรียงลำดับกับโน้ตที่อยู่ในช่องถ้าหากเส้นน้อยมีมากกว่าสามเส้น ควรใช้วิธีการเปลี่ยนกุญแจประจำหลักหรือใช้เครื่องหมายคู่แปดช่วย เพื่อให้สะดวกต่อการอ่าน
6. กุญแจ (Clef)
กุญแจ คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่บันทึกไว้ที่บรรทัดห้าเส้น เพื่อกำหนดระดับเสียงโน้ตที่อยู่ในช่องและอยู่บนเส้นของบรรทัดห้าเส้น กุญแจที่ใช้ในปัจจุบันมี 3 แบบ ดังนี้

6.1 กุญแจซอล หรือกุญแจ G (G clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตซอล (G) อยู่บรรทัดเส้นที่ 2 กุญแจชนิดนี้นิยมมากในกลุ่มนักดนตรี นักร้อง ใช้กับเครื่องดนตรีที่นิยมทั่วไป เช่น กีตาร์ ไวโอลินทรัมเป็ต ฯลฯ กญแจซอลมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ คือ เทรเบิลเคลฟ (Treble clef)

6.2 กุญแจฟา หรือกุญแจ F (F clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตฟา (F) อยู่บนเส้นที่ 4 กุญแจชนิดนี้นิยมใช้กับเสียงร้องหรือเครื่องดนตรีที่มีเสียงต่ำ เช่น เชลโล เบส ทรอมโบน ฯลฯกุญแจฟามีชื่อเรียกภาษาอังกฤษอีกชื่อคือ เบสเคลฟ (Bass clef)

กุญแจโดเทเนอร์ (Tenor clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับเชลโล และบาสซูน
6.3 กุญแจโด หรือกุญแจ C (C clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้เสียงโด (C) อยู่บนเส้นใดก็ได้ของบรรทัดห้าเส้น ให้เป็นเสียงโดกลาง
กุญแจโดอัลโต
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา
กุญแจโดเทเนอร์
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา


7. การเรียกชื่อตัวโน้ต
การเรียกชื่อตัวโน้ตสากลที่นิยมมี 2 ระบบ ได้เเก่

7.1 ระบบโซฟา (So-Fa system) ใช้เรียกตัวโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ดังนี้ โด (Do) เร (Re) มี (Mi) ฟา (Fa) ซอล (Sol) ลา (La) ที (Ti)

7.2 ระบบตัวอักษร (Latter system) ใช้เรียกชื่อโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง
ดังนี้ A B C D E F G โดยใช้ตัวอักษร A แทนด้วยตัว ลา

การเรียกชื่อโน้ตในกุญแจ
เมื่อใช้กุญแจซอล (G clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้
เมื่อใช้กุญแจฟา (F clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้

8. เส้นกันห้อง (Bar line)
เส้นกันห้อง คือ เส้นตรงแนวตั้งที่ขีดขวางบรรทัดห้าเส้น เพื่อกั้นแบ่งโน้ตในแต่ละห้อง ให้มีจำนวนจังหวะตามที่เครื่องหมายกำหนดจังหวะกำหนดไว้
8.1 ใช้กั้นห้องเพลง
8.2 ใช้กั้นจบตอนหรือจบท่อนเพลง โดยใช้เส้นกันห้องคู่ (Double Bar Line)

9. การเพิ่มค่าตัวโน้ต
การเพิ่มค่าตัวโน้ต และเพิ่มค่าตัวหยุด สามารถทำได้ดังนี้
9.1 การประจุด (Dot) คือ การประจุดที่ด้านขวาตัวโน้ต หรือที่ตัวหยุด จะมีผลให้ค่าโน้ตนั้นๆเพิ่มมากขึ้นครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตนั้น เช่น

   9.2 เครื่องหมายโยงเส้นทาย (Tie) ใช้กับโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกัน จะเพิ่มค่าเท่ากับค่าโน้ตสองตัวรวมกัน โดยจะเล่นที่โน้ตตัวแรก ลากเสียงไปสิ้นสุดที่ตัวสุดท้ายที่เครื่องหมายที่กำหนดไว้ เช่น
                9.3 ใช้สัญลักษณ์เฟอร์มาตา (Fermata) หรือเป็นเส้นโค้งครึ่งวงกลมมีจุดตรงกลาง ใช้บันทึกไว้ที่หัวโน้ต เพื่อเพิ่มค่าตัวโน้ตให้ลากยาวเท่าใดก็ได้ไม่ได้กำหนดไว้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เล่น เช่น
10. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ คือ ตัวเลขสองตัวที่เขียนไว้หลังกุญแจ คล้ายลักษณะเลขเศษส่วนแต่ไม่มีเส้นขีดคั่นกลาง เลขตัวบนจะบอกว่า 1 ห้องเพลงมีกี่จังหวะ ส่วนเลขตัวล่างบอกโน้ตที่ใช้เป็นเกณฑ์ 1 จังหวะ เช่น
            นอกจากนี้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ ยังมีลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งใช้แทนตัวเลขได้ เช่น
11. อัตราจังหวะ
อัตราจังหวะ เป็นเครื่องหมายกำหนดอัตราจังหวะ ที่บอกถึงค่าตัวโน้ต และจำนวนจังหวะในแต่ละห้องเพลง อัตราจังหวะ (Time) เป็นกลุ่มโน้ตที่ถูกจัดแบ่งจังหวะเคาะที่เท่าๆ กันในแต่ละห้องเพลงและทำให้เกิดชีพจรจังหวะ (Pulse) คือ การเน้นจังหวะหนัก-เบา กลุ่มอัตราจังหวะโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะคือ
11.1 อัตราจังหวะสองธรรมดา (Simple duple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 2 จังหวะ เช่น
11.2 อัตราจังหวะสามธรรมดา (Simple triple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 3 จังหวะ เช่น
11.3 อัตราจังหวะสี่ธรรมดา (Simple quadruple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 4 จังหวะ เช่น
เครื่องหมาย  > คือ การเน้นจังหวะที่โน้ตในจังหวะที่ 1 ของแต่ละอัตราจังหวะ


แสดงการเคาะอัตราจังหวะ 1 จังหวะ

พื้นฐานการเคาะ 1 จังหวะ อาจใช้การตบเท้าจากจุดเริ่มต้นตบเท้าลง คือ จังหวะตก แล้วยกเท้าขึ้นจุดเดิม คือ จังหวะยก



************************

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิธีเล่นดนตรีสากล

กลุ่มเครื่องสาย (String Instruments) 
เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงโดยการสั่นสะเทือนของสายลวด เชือก เอ็น หรือไนลอน
และมีตัวกำธรเสียง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังมากขึ้น คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัตถุที่ใช้
ทำ การสั่นสะเทือนของสายอาจทำได้โดยการสี หรือ ดีดโดยอาจกระทำโดยตรง หรือเพิ่มกลไกให้ยุ่ง
ยากขึ้น เครื่องสายที่พบเห็นในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีทำให้เกิดเสียงได้ 2 วิธี คือ วิธีสี และวิธีดีด
1.1 เครื่องสายประเภทใช้คันสี ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย
1)ไวโอลิน (Violin) ไวโอลินคันหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยแผ่นไม้หลายชิ้น แต่ละชิ้นเลือก
มาจากไม้ชนิดต่าง ๆ กันตามความเหมาะสมที่จะนำมาทำเป็นส่วนต่าง ๆ ของซอ ด้านหน้าใช้ไม้พรุช
ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนมีลายละเอียดด้านหลังใช้ไม้เมเปิ้ล
ไวโอลินประกอบด้วยสาย 4 สาย แต่ละสายเทียบเสียงห่างกันคู่ 5 เพอร์เฟค คือ เสียง
G-D-A-E สายต่ำสุดเทียบเสียง G ต่ำถัดจาก Middle C สายทั้งสี่มีความยาวเท่ากัน แต่ระดับเสียง
แตกต่างกันตามขนาดไวโอลินขนาดมาตรฐานจะมีความยาวทั้งสิ้น 23.5 นิ้ว คันชักยาว 29 นิ้ว
ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นท่วงทำนอง (Melodic Instrument) มีเสียงแหลมสดใส
ถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีถ้าต้องการจะเล่นให้เสียงหวาน เศร้า ก็ทำได้ โดยใช้เทคนิคการเล่นแบบต่าง ๆ

2) วิโอลา (Viola) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินทุกประการ แต่มีขนาดใหญ่กว่าไวโอลิน
ประมาณหนึ่งในห้า มีความยาวทั้งสิ้น 26.5 นิ้ว วิโอลาประกอบด้วยสาย 4 สาย ตั้งเสียงต่ำกว่า
ไวโอลินลงไปอีกคู่ 5 เพอร์เฟค คือ C-G-D-A มีเสียงทุ้มและนุ่มนวลกว่าไวโอลิน แต่ไม่มีบทบาทเด่น
เหมือนไวโอลิน
การเล่นเครื่องดนตรีไวโอลินและวิโอลานี้ผู้เล่นจะใช้มือซ้ายจับที่คอของเครื่อง โดยให้คอของ
เครื่องอยู่ในร่องระหว่างหัวแม่มือกับนิ้วชี้ นิ้วทั้งสี่ (ยกเว้นหัวแม่มือ) ทำหน้าที่กดลงบนสายเพื่อเปลี่ยน
ระดับเสียง ด้านท้ายของเครื่องวางบนไหล่ซ้ายของผู้เล่น และผู้เล่นจะใช้คางหนีบกระชับ จับตัวเครื่อง
ด้วยมือซ้ายและใช้มือขวาจับคันชักในการสี
3) เชลโล (Cello) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินและวิโอลา แต่มีขนาดโตกว่ามาก คือความ
ยาวประมาณ 48.5 นิ้ว ขณะเล่นต้องนั่งเก้าอี้ เอาเครื่องไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างหันหน้าเครื่องออก
เทคนิคการเล่นเหมือนกับไวโอลินสายทั้งสี่เสียงต่ำกว่าวิโอลา 1 ช่วงคู่ 8 คือ C-G-D-A เสียงของเชลโล
นุ่มนวล แสดงอารมณ์เศร้าสร้อย
4) ดับเบิลเบส (Double Bass) เป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลไวโอลิน มี
ความยาวประมาณ 74 นิ้ว ผู้บรรเลงต้องยืนเล่น เสียงของดับเบิลเบส ต่ำสุดแสดงถึงความมีอำนาจ
ความกลัว ความลึกลับ สายทั้งสี่ตั้งเสียงห่างกันเป็นคู่ 4 เพอร์เฟค คือ E- A- D- G
1.2 เครื่องสายประเภทเครื่องดีด (Plucked String) ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย
1) ฮาร์พ (Harp) ฮาร์พเป็นพิณโบราณขนาดใหญ่ มีประวัติเก่าแก่มาก ชาวอียิปต์
โบราณใช้ฮาร์พเป็นเครื่องดนตรีสำคัญในราชสำนักของฟาโรห์ ในยุโรปสมัยกลางฮาร์พเป็นเครื่องดนตรี
ที่ได้รับความนิยมจากชาวไอริช และเวลส์ เป็นอย่างมาก

ฮาร์พมีลักษณะเป็นโครงสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ ด้านบนโค้งงอสวยงาม มีสายขึงอยู่ทั้งหมด
47 สาย ช่วงเสียงกว้าง 6 ? Octaves บันไดเสียงพื้นฐานของฮาร์พเป็น Cb Major ที่ฐานของฮาร์พ จะ
มีกระเดื่อง 7 อัน สำหรับเหยียบ (ประจำทั้ง 7 เสียง) ถ้าเหยียบจมลงครั้งหนึ่งสายจะดึงขึ้นทำให้เสียงสูง
ขึ้นครึ่งเสียง ถ้าเหยียบอีกเป็นครั้งที่สองสายจะตึงขึ้นอีกทำให้เสียงสูงขึ้นอีกทำให้ผู้เล่น เล่นเพลงได้ทุก
บันไดเสียงในการบรรเลงฮาร์พผู้เล่นจะต้องนั่งลงให้ไหล่ขวาชิดกับตัวฮาร์พใช้นิ้วมือทั้งสอง ยกเว้นนิ้ว
ก้อยดีดสาย เสียงของฮาร์พเบาและนุ่มนวลกว่าเปียโนมากปัจจุบันฮาร์พใช้บรรเลงในวงดนตรีประเภท
ออร์เคสตราเท่านั้น

2) ลูท (Lute) เป็นพิณชนิดหนึ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเครื่องสายประเภทดีด ลูทมีรูปทรง
เหมือนผลส้มผ่าซีก มีสะพานวางนิ้วที่มีช่องปรากฏอยู่ เช่นเดียวกับกีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน ฯลฯ
ชาวอาหรับโบราณนิยมกันมากแต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้รับความนิยม
3) กีตาร์ (Guitar) กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่แพร่หลายมากในปัจจุบันมีรูปร่างคล้ายคลึงกับ
พิณลูทแต่ผิดกันตรงที่รูปร่างแบนกว่าในปัจจุบันมีความสำคัญทั้งในวงดนตรีประเภทสตริง แจ๊สร็อค
เป็นต้น กีตาร์ประกอบด้วยสาย 6 สาย โดยตั้งระดับเสียงต่ำไปหาสูง ในแต่ละสายดังนี้ E,A,D,G,B,E
ไม่ว่าจะเป็นกีตาร์โปร่งธรรมดา หรือกีตาร์ไฟฟ้า

นอกจากนี้เครื่องสายประเภทดีดยังมีแมนโดลิน แบนโจ ซึ่งเป็นเครื่องสายประเภทดีดที่มีรูป
ร่างคล้ายกีตาร์ แต่มิได้นำมาใช้ในวงดนตรีมากนักส่วนมากใช้ในดนตรีของชาวพื้นเมืองแถบลาติน
อเมริกาอย่างไรก็ตามทั้งแมนโดลิน และแบนโจก็เป็นผลการวิวัฒนาการของลูทนั่นเอง

4) แมนโดลิน (Mandolin) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลลูท มีสาย 4 คู่ (8สาย) หรือ 6 คู่
(12สาย) ตั้งเสียงเท่ากันเป็นคู่ มีลูกบิดคล้ายกีตาร์ใช้ในการตั้งเสียง และมีนม (Feat) รองรับสาย เวลา
เล่นจะใช้นิ้วมือซ้ายจับตัวแมนโดลินและใช้มือขวาดีด ลักษณะการดีดคล้ายการดีดกีตาร์โดยใช้ปิ๊ค
(Pick) เสียงที่เกิดจากแมนโดลินมีความไพเราะเป็นเสียงที่มีคุณภาพ เร้าอารมณ์ได้ดีโดยเฉพาะอารมณ์
โศกเศร้าเกี่ยวกับความรัก แมนโดลินมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอิตาลี เป็นเครื่องดนตรีที่ชาวอิตาเลียนนิยม
กันแพร่หลาย ในปี ค.ศ. 1713 ได้มีผู้นำเอาแมนโดลินมาเล่นผสมในวงคอนเสิร์ตในประเทศอังกฤษ
5) แบนโจ (Banjo) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลลูท จุดเริ่มต้นที่มีผู้นำมาเล่นอยู่ในแถบ
แอฟริกาตะวันตก (Western Africa) เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของพวกนิโกร ต่อมาจึงเป็นที่แพร่หลาย
ในหมู่อเมริกันนิโกร วิธีการเล่นคล้ายกับกีตาร์
2. กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
ในปัจจุบันมีเครื่องดนตรีหลายเครื่องที่ไม่ได้ทำด้วยไม้เนื่องจากไม้หายาก จึงใช้วัสดุอย่างอื่น
สร้างขึ้นแต่วิธีการเกิดเสียงและคุณภาพเสียงก็ยังเหมือนกับทำด้วยไม้ทุกประการเครื่องดนตรีกลุ่มเครื่อง
ลมไม้ยังแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภทคือประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า(Blowing into a tube)
ลำตัวมีลักษณะเป็นท่อเครื่องเป่าประเภทนี้เป่าลมเข้าทางด้านข้าง และประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของ
เครื่องดนตรี (Blowing through a reed)เครื่องลมไม้ประเภทขลุ่ย ยังแบ่งตามลักษณะของการเป่าได้
2 ประเภทคือ ประเภทเป่าตรงปลาย เช่น ขลุ่ยเรคคอร์เดอร์ ประเภทเป่าด้านข้าง เช่น ฟลูต และปิคโคโล
1) ฟลูต (Flute) เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากมนุษย์ก่อน
ประวัติศาสตร์ที่คิดใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่า
ให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูตเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง
มีความยาว 26 ?นิ้วมีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางจนถึง C สูงขึ้นไปอีก 3 ออคเทฟ เสียงแจ่มใสจึงเหมาะ
สำหรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนองใช้เลียนเสียงนกเล็ก ๆ ได้ดีและเสียงต่ำของฟลูตจะให้เสียงที่
นุ่มนวล
2) พิคโคโล (Piccolo) เป็นขลุ่ยขนาดเล็กมีลักษณะเช่นเดียวกับฟลูตแต่เล็กกว่าทำมาจาก
ไม้หรืออีบอร์ไนท์ แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ ยาวประมาณ 12 นิ้ว เสียงเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะเป่าเพียง
เครื่องเดียว พิคโคโลเล่นได้ดีเป็นพิเศษโดยเฉพาะการทำเสียงรัว (Trillo) และการบรรเลงเดี่ยว (Solo)
เครื่องลมไม้อีกประเภทหนึ่งคือ ประเภทปี่มีส่วนประกอบที่สำคัญคือมีลิ้น (Reed) เป็นตัวสั่น
สะเทือนส่วนที่เป็นลิ้นจะอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของปี่เมื่อเป่าลมผ่านลิ้นให้เกิดการสั่นสะเทือนแล้วลมก็
จะเข้าไปในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงหรือตัวกำธร แล้วออกไปยังปากลำโพง

นอกจากนี้เครื่องดนตรีพวกปี่ยังจำแนกออกได้ตามลักษณะของลิ้นที่ใช้เป็นประเภทลิ้นคู่
(Double reed) และลิ้นเดี่ยว(Single reed)
.
2.1.1 ประเภทลิ้นคู่ (Double reed)
1) โอโบ (Oboe) เป็นปี่ลิ้นคู่ที่เก่าแก่ที่สุด ชาวอียิปต์โบราณ ได้เคยใช้ปี่ที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงกับปี่โอโบ เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์กาลมาแล้ว ชาวกรีกและชาวโรมันโบราณ
มีปี่ลิ้นคู่ชนิดหนึ่งเรียกว่า “ออโรส” (Aulos) โอโบลำตัวยาวประมาณ 25.5 นิ้ว เป็นรูปทรงกรวย
ทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์ ส่วนลิ้นคู่นั้นทำจากไม้ที่ลำต้นมีข้อและปล้อง จำพวก กก หรือ อ้อ ที่ขึ้นในแถบ
เมดิเตอร์เรเนียนลิ้นของปี่โอโบได้รับการผลิตอย่างปราณีตมาแล้วจากโรงงานผู้เล่นส่วนมากนิยมนำมา
ตกแต่งเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับริมฝีปากของตนเอง

โอโบเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากมาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโอโบต้องใช้ลมเป่ามาก แต่
ความจริงแล้วแม้แต่เด็กผู้หญิงก็สามารถเป่าได้สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญอยู่ตรงที่ลิ้นคู่หรือลิ้นแฝด ผู้เล่น
ต้องสามารถเม้มริมฝีปาก และเป่าลมแทรกลงไประหว่างลิ้นคู่ทั้งสองที่บอบบาง เข้าไปในท่อลม เทคนิค
การควบคุมลมให้สม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นมากจึงต้องฝึกฝนกันเป็นเวลานาน ช่วงเสียงของโอโบกว้าง
ประมาณ 2 ออคเทฟครึ่ง เริ่มตั้งแต่ B flat ต่ำถัดจาก C กลาง สำเนียงของโอโบ ไม่สง่าผ่าเผยเหมือน
ฟลูตมีลักษณะแบน ๆ คล้ายเสียงออกจมูก เหมาะสำหรับทำนองเศร้า ๆ บรรยากาศของธรรมชาติและ
ลักษณะของดินแดนทางตะวันออก หน้าที่ที่สำคัญของโอโบอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นเครื่องเทียบเสียงของวง
ออร์เคสตรา (A tuning fork for the orchestra) ก่อนการบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ จะต้องเทียบเสียง
“ลา” (A)


2)คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้น
เพื่อง่ายต่อการเป่าส่วนที่ต่อจากที่เป่า(ลิ้น)กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า “อองเกล
(Angle)” ขึ้นต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษา
อังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn)
ปี่ชนิดนี้นอกจากมีชื่อประหลาดแล้ว ยังมีรูปร่างที่น่าทึ่งอีกด้วย คือส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็นท่อลม
โลหะโค้งงอติดกับลำตัวปี่ ซึ่งปี่โอโบไม่มี ตรงปลายสุดที่เป็นปากลำโพง (Bell) ป่องเป็นกระเปาะกลม ๆ
ซึ่งปี่โอโบมีลำโพงคล้ายปี่คลาริเนต คอร์ แองเกลส์เป็นปี่ตระกลูเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่าและมี
รูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบระดับเสียงต่ำกว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้อง
คอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่
3)บาสซูน (Bassoon) เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบรูปร่างของบาสซูนค่อนข้าง
จะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ ได้รับฉายาว่าเป็น “ตัวตลกของวงออร์เคสตรา” (The Clown of the
Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (Staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด…
คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลกที่มีอากัปกริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์เนื่องจากความใหญ่
โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลมให้เหลือความยาว
ประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักเรียกว่า Sling เพื่อ
ให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกดแป้นนิ้วต่าง ๆ ได้สะดวก เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของ
กลุ่มเครื่องลมไม้ นอกจากนี้แล้วยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างไพเราะอีกด้วย
4)คอนทราบาสซูนหรือดับเบิลบาสซูน (Contra Bassoon or Double Bassoon)
คอนทราบาสซูน ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยชาวอังกฤษสองคน ชื่อ สโตน และ มอร์ตัน
(Stone & Morton) ต่อมา เฮคเคล (Heckel) ได้ปรับปรุงโดยติดกลไกของแป้นนิ้วต่าง ๆ ให้สมบูรณ์
และนำมาใช้จนถึงทุกวันนี้ คอนทราบาสซูนเป็นปี่ที่ใหญ่กว่าปี่บาสซูน ประมาณเท่าตัวคือมีความยาว
ของท่อลมทั้งหมดถึง 18 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 220 นิ้วพับเป็นสี่ท่อน แต่ละท่อนเชื่อมต่อด้วย Butt และข้อต่อ
รูปตัว U ที่ปลายท่อนสุดท้ายจะต่อกับลำโพงโลหะที่คว่ำลงในแนวดิ่ง แต่คอนทราบาสซูนอีกชนิดหนึ่ง
ลำโพงหงายขึ้นในแนวดิ่ง ให้เสียงต่ำกว่าบาสซูน ลงไปอีก 1 ออคเทฟ เสียงจะนุ่มไม่แข็งกร้าวเหมือน
บาสซูน แต่ถ้าบรรเลงเสียงต่ำอย่างช้า ๆ ในวงออร์เคสตราขณะที่เครื่องดนตรีอื่น ๆ เล่นอย่างเบา ๆ จะ
สร้างภาพพจน์คล้ายมีงูใหญ่เลื้อยออกมาจากที่มืด โอกาสที่ใช้ในการบรรเลงมีไม่มากนักทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่
กับบทเพลงนั้น ๆ
2.1.2 เครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นเดียว (Single Reed) ประกอบด้วย
1)คลาริเนต (Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดา
เครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภทและเป็นเครื่องดนตรีที่
สำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส

ปี่คลาริเนตทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์เช่นเดียวกับปี่โอโบมีรูปร่างคล้ายโอโบมากความแตกต่าง
อยู่ที่มีลิ้นเดียว คลาริเนตยาวกว่าโอโบเล็กน้อย รูปทรงของท่อลมเป็นทรงกระบอก ปากลำโพงบานเป็น
ทรงระฆัง ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 26 นิ้ว คลาริเนตมีเสียงกว้างที่สุดในบรรดาเครื่องลมไม้ ปี่ชนิดนี้
แตกต่างกับฟลูตในเรื่องคุณสมบัติของเสียง เสียงของฟลูตจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ไม่ค่อยแตกต่างกัน
เท่าใด แต่เสียงของคลาริเนตแตกต่างกันมากจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คลาริเนตให้เสียงสูงสดใส่
ร่าเริง คม ชัดเจน มีความคล่องตัวในการบรรเลงสูง เวลาเป่าผู้เป่าจะเม้มริมฝีปากให้ลิ้นของปี่แตะอยู่บน
ริมฝีปากล่าง ส่วนริมฝีปากบนผู้เป่าจะทำให้เกิดคุณสมบัติของเสียงตลอดจนความดังหรือเบาให้
แตกต่างกันโดยการให้ลิ้นของปี่เข้าไปอยู่ในปากมากหรือน้อยและการเม้มริมฝีปากล่างกดกับลิ้นปี่
หนัก – เบา เพียงใด

ในวงโยธวาทิตปี่คลาริเนตถือเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญและได้รับสมญาว่าเป็นไวโอลินของวง
โยธวาทิต ปี่คลาริเนตมีหลายขนาดแต่ที่นิยมใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันมี Bb คลาริเนต และ Eb คลาริเนต

2)เบส คลาริเนต (Bass Clarinet) เป็นปี่คลาริเนตขนาดใหญ่มีช่วงเสียงต่ำกว่า
คลาริเนตธรรมดา 1 ออคเทฟ ลำตัวยาวกว่าคลาริเนต ส่วนปากลำโพงทำด้วยโลหะและงอนขึ้นส่วนที่
เป่างอโค้งทำมุมกับตัวปี่ วัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์เบสคลาริเนตขึ้นเพื่อให้มีเสียงของเครื่องดนตรี
ในตระกูลคลาริเนตครบทุกเสียง
3)แซกโซโฟน (Saxophone) มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องลมไม้
มีอายุน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ประดิษฐ์เมื่อ ค.ศ. 1840 ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส
โดย อดอล์ฟ แซกเป็นผู้ผลิต ซึ่งเขาผลิตแซกโซโฟนขึ้นในราว ค.ศ. 1840 ในขณะนั้นได้มีหัวหน้าวง
โยธวาทิตมาจ้างให้เขาผลิตเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ซึ่งสามารถเล่นเสียงให้ดัง เพื่อใช้ในวงโยธวาทิต
(Military Band) และต้องการให้เครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้เป็นเครื่องลมไม้ เขาจึงนำเอาเครื่องดนตรี
ประเภทเครื่องทองเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งล้าสมัยแล้วเรียกว่าแตรออพิคเลียด (Ophiclede) มาถอดที่เป่าอัน
เดิมออกแล้วเอาที่เป่าของคลาริเนตมาใส่แทนจากนั้นเขาได้แก้กลไกของกระเดื่องต่าง ๆ และปรับปรุงจน
สามารถใช้งานได้ แซกโซโฟนจึงได้กำเนิดขึ้นมาเป็นชิ้นแรกของโลก

ในอดีตแซกโซโฟนมีฉายาว่าคลาริเนตทองเหลือง เพราะสามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว
ปราดเปรียวเหมือนคลาริเนต ในปัจจุบันแซกโซโฟนได้รับความนิยมสูงสุด ดังจะเห็นได้จากศิลปินชาว
ต่างประเทศได้นำมาแสดงในเมืองไทยหลายครั้ง และมีการจัดอันดับผู้ที่มีความสามารถในการเล่น
แซกโซโฟนของโลกด้วย เช่น Kenny G, Grover Washington,Jr., Sadao Watanabe เป็นต้น
ในวงออร์เคสตราไม่นิยมใช้แซกโซโฟน เพราะบทบรรเลงที่ใช้สำหรับวงออร์เคสตราส่วนใหญ่เกิดก่อน
แซกโซโฟน แต่ปัจจุบันแซกโซโฟนเป็นเครื่องเป่าที่มีบทบาทมากทั้งในวงโยธวาทิต วงแจ๊ส วงคอม
โบ ตลอดจนวงดนตรีสมัยใหม่ แซกโซโฟนที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ขนาด คือ บีแฟลตโซปราโน
อีแฟลตอัลโต บีแฟลตเทเนอร์ และอีแฟลตบาริโทน

3.เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองนี้เรียกรวม ๆ ว่ากลุ่มแตร ส่วนประกอบที่สำคัญของ
เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ คือ ท่อลมทำด้วยโลหะขนาดต่าง ๆ กันการเกิดเสียงเกิดจากการเป่าลมให้เกิดการสั่น
สะเทือนที่ริมฝีปากของผู้เล่น ผ่านเข้าไปในปากเป่า (Mouth Piece) การเป่าเครื่องลมทองเหลืองจึงขึ้น
อยู่กับริมฝีปากเป็นสำคัญเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีดังนี้
1) เฟรนช์ฮอร์น (France horn)
ปัจจุบันเรียกว่า “ฮอร์น” ต้นกำเนิดของฮอร์นคือเขาสัตว์ ฮอร์นที่เก่าแก่ที่สุดคือ โชฟาร์ (Shofar) ของชาวฮิบรู ทำด้วยเขาแกะ เฟรนช์ฮอร์นเป็นแตรที่มีช่วงเสียงกว้างถึง 3 ออคเทฟครึ่ง มีท่อยาวประมาณ 12-15 ฟุต แต่นำมาขดเป็นวงโค้งไปมาเพื่อให้สะดวกแก่ผู้เป่าจนเหลือความยาวจากปากเป่าถึงปากลำโพงเพียง 20 นิ้ว เสียงของเฟรนช์ฮอร์น สดใส สง่า จัดว่าเป็นพระเอกในบรรดาเครื่องลมทองเหลือง นักแต่งเพลงหลายคนใช้เสียงของเฟรนซ์ฮอร์นบรรยายความงามของธรรมชาติเช่น ท้องทะเลครามอันกว้างใหญ่ไพศาล และหุบเขาที่มีเสียงสะท้อนก้องกลับไปกลับมา เนื่องจากท่อลมมีขนาดยาวมากการบังคับริมฝีปากในการเป่าจึงเป็นเรื่องยาก
2)ทรอมโบน (Trombone)
เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนาและพิธียุรยาตราร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า – ออกได้ (Telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบ สองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอกเช่นเดียวกับ ทรัมเปตส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนมีเสียงทุ้ม ห้าว ไม่สดใส เหมือนทรัมเปต ปัจจุบันนิยมใช้แพร่หลายในวงดนตรีชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกันทรัมเปตประกอบด้วยเทเนอร์ทรอมโบน (Tenor Trombone)และ เบสทรอมโบน (Bass Trombone)
3)ทรัมเปต (Trumpet) ในสมัยโบราณชาวยุโรปถือว่าแตรทรัมเปตเป็นของคนชั้นสูงผู้
ที่จะมีสิทธิเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ได้ต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูงหรือไม่ก็นักรบชั้นแม่ทัพ
สามัญชนไม่มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ ทรัมเปตเป็นแตรที่มีท่อลมรูปทรงกระบอกขนาด
ของท่อลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว โค้งงอทบกันเป็นสามทบ ติดลูกสูบเพื่อใช้บังคับเสียง3 อัน
( 3 valve) อยู่ตรงกลางลำตัว ผู้เป่าจะใช้นิ้วขวาบังคับลูกสูบทั้งสามโดยการกดลงหรือผ่อนให้ขึ้นแนว
ตั้ง กำพวด (Mouthpiece) ของทรัมเปตเป็น “กำพวดรูปถ้วยหรือระฆัง” ซึ่งทำให้แตร ทรัมเปต
สามารถเล่นเสียงสูงได้สดใสแผดกล้าให้ความรู้สึกตื่นเต้นได้ดีแต่ถ้าเล่นเสียงต่ำจะให้ความนุ่มนวล
ลักษณะคล้ายเสียงกระซิบกระซาบได้ดีเช่นเดียวกันบางครั้งผู้เป่าต้องการลดเสียงของแตรให้เบาลงทำให้
เกิดเสียงที่แปลกหูก็สามารถใช้ “มิวท์” (Mute) สวมเข้าไปในปากลำโพงของแตร ในปัจจุบัน ทรัมเปต
เป็นแตรที่แพร่หลายและใช้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภท
4)คอร์เนต (Cornet) คอร์เนตคือเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีลักษณะคล้ายกับทรัมเปต
แต่ลำตัวสั้นกว่าคุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวลกลมกล่อมแต่ความสดใสของเสียงน้อยกว่าทรัมเปต
คอร์เนตถูกนำมาใช้ในวงออร์เคสตราครั้งแรกประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่าของ
Rossini เรื่อง William Tell ในปัจจุบันคอร์เนตเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงโยธวาทิตและแตรวง
5)ฟลูเกิลฮอร์น (Flugelhorn) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองเช่นเดียว
กับทรัมเปต มีลักษณะคล้ายกับแตรบิวเกิลปกติจะมี 3 อัน ท่อลมกลวงเป็นรูปกรวยปลายบานเป็น
ลำโพงรูปร่างค่อนข้างจะใหญ่กว่าคอร์เนต ลักษณะของเสียงจะคล้ายกับฮอร์น แต่มีความห้าวมาก
กว่าฮอร์น
6)ยูโฟเนียม (Euphonium) ยูโฟเนียม คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองคุณ
ภาพเสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียงต่ำได้ดี
บางครั้งนำไปใช้บรรเลงในวงออร์เคสตราแทนทูบ คำว่ายูโฟเนียมมาจากภาษา กรีกหมายถึง “เสียงดี”
ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไปคือมีลูกสูบ 3-4 อัน มีกำพวดเป็นรูป
ถ้วย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพง
7)ทูบา (Tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลแซกฮอร์น ซึ่งอดอล์ฟ แซก ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ
ปี 1845 แตรตระกูลแซกฮอร์น มีหลายขนาดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามขนาด เช่น บาริโทน ยูโฟเนียม
การผลิตให้มีหลายขนาดก็เพื่อจะให้มีแตรหลาย ๆ ระดับ เสียงเพื่อใช้ในวงแตรวง และวงโยธวาทิต ส่วน
ที่ใช้ในวงออร์เคสตรา ซึ่งมีมาแต่เดิม และนิยมใช้มากที่สุดคือ ทูบา

ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9 ,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด
มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบ
บังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน เสียงของทูบาต่ำลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า “เพดัล โทน”
(Pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทอง
เหลือง

8) ซูซาโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องดนตรีที่ จอร์น ฟิลิป ซูซา (Johe Philip
Sousa,1854-1932)ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แทนทูบา เพื่อให้ง่ายแก่การเดินสนาม สุ้มเสียงของซูซาโฟน มี
เสียงแบบเดียวกับทูบา ฉะนั้นจึงใช้แทนกันได้
4. กลุ่มเครื่องคีย์บอร์ด (Keyboard Instruments)

เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า“เครื่องดนตรีประเภท
คีย์บอร์ด” ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็คือมีลิ่มนิ้วสำหรับกดเพื่อปรับเปลี่ยนระดับเสียง
ดนตรี ลิ่มนิ้วสำหรับกดเรียกว่า “คีย์ (Key)” เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากันโดยปกติสี
ของคีย์เป็นสีขาวกับดำ คีย์สีดำโผล่สูงขึ้นมามากกว่าคีย์สีขาว

การเกิดเสียงของเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีหลายลักษณะเช่นเปียโน ฮาร์ปสิคอร์ด คลาวิคอร์ด
เกิดเสียงโดยการกดคีย์ที่ต้องการแล้วคีย์นั้นจะส่งแรงไปที่กลไกต่าง ๆ ภายในเครื่องเพื่อที่จะไปทำให้สาย
โลหะที่ขึงตึงสั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียงดังขึ้น เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดบางชนิดใช้ลมพ่นไปยังลิ้น
โลหะให้สั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียง ในปัจจุบันนิยมใช้น้อยมากเช่น ออร์แกน แอกคอร์เดียน สำหรับ
เมโลเดียนและเมโลดิกาซึ่งนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับอนุบาลจนถึงระดับ
ประถมศึกษานั้นก็จัดอยู่ในเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดเช่นกัน

ในปัจจุบันนี้เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่เกิดเสียงโดยใช้วงจรอิเล็กโทรนิกส์ ได้รับความ
นิยมมากเพราะสามารถเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ได้หลายชนิด ซึ่งได้พัฒนามาจากออร์แกน
ไฟฟ้านั้นเองมีหลายชื่อแต่ละชื่อมีคุณลักษณะแตกต่างกันไปเช่น เครื่องอิเล็กโทนคือเครื่องดนตรีประเภท
คีย์บอร์ดที่มีจังหวะในตัวสามารถบรรเลงเพลงต่าง ๆ ได้ด้วยนักดนตรีเพียงคนเดียว

ในยุคคอมพิวเตอร์เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดได้วิวัฒนาการไปมากเสียงต่าง ๆ มีมากขึ้น
นอกจากเสียงดนตรีแล้วยังมีเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ ให้เลือกใช้มากเสียงต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงเสียงที่สังเคราะห์
ขึ้นมาด้วยระบบอิเล็กโทรนิกดังนั้นเครื่องดนตรีประเภทนี้จึงถูกเรียกว่า “ซินธิไซเซอร์ (Synthesizer)”

1) เปียโน (Piano) เปียโนเป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดประเภทใช้สายเสียงหรือ
ประเภทลิ่มนิ้วที่มีวิวัฒนาการมาจากฮาร์ปสิคอร์ด (Harpsichord) ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์
ในประเทศอิตาลี ในต้นศตวรรษที่ 18 เดิมมีชื่อเรียกว่าเปียโนฟอร์เตเพราะทำได้ทั้งเสียงเบาและเสียงดัง
สายเสียงจะถูกตีด้วยค้อนเชื่อมโยงไปที่คีย์กดโดยผ่านเครื่องกลไกซับซ้อนที่เรียกว่า แอคชั่น (Action)

เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถเล่นเป็นทำนองเพลงและเป็นเสียงประสานหรือเล่นเป็น
คอร์ดได้ ในขณะที่เล่นผู้เล่นต้องใช้มือ 2 ข้างเล่นพร้อมกัน เปียโนเหมาะสำหรับเป็นเครื่องดนตรีประจำ
บ้าน สามารถบังคับให้เสียงดังหรือเบาได้โดยการเหยียบเพดัล (Pedal) ด้านล่างของเครื่อง เปียโนมี
เพดัล 3 แบบ คือ
1. เพดัลประเภทให้เสียงต่อเนื่อง จะอยู่ทางขวาส่วนเท้าเหยียบของผู้เล่น เมื่อเหยียบเพดัล
ลงไปจะทำให้เสียงทุกเสียงที่กดยาวต่อเนื่องกันไป
2. เพดัลประเภทเดี่ยวอยู่ตรงกลางระหว่างเท้าเหยียบของผู้เล่นเมื่อเหยียบเพดัลลงทำให้
เสียงยาวต่อเนื่องหรือลากยาวได้เสียงเดียวหรือคอร์ดเดียว
3. เพดัลแบบอูนาคอร์ดา อยู่ทางซ้ายส่วนเท้าเหยียบของผู้เล่นเมื่อเหยียบเพดัลลงทำเสียง
เบาได้ช่วยลดเสียงหรือทำให้เสียงเบาลง

เปียโนประกอบด้วย 2 ประเภทคือแกรนด์เปียโน (Grand Piano) สายของเปียโนชนิดนี้เรียง
สายในแนวนอน และอัพ – ไรท์เปียโน (Up – right Piano) สายของเปียโนชนิดนี้เรียงสายในแนวตั้ง
เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่มีช่วงเสียงกว้างมากถึง 7 ? ออคเทฟ (Octaves) หรือในบางรุ่นอาจมีถึง
8 ออคเทฟ (Octaves) มีลิ่มทั้งหมด 88 ลิ่ม

2) ออร์แกน (Organ) เป็นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดประเภทใช้ลมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดกล่าวกัน
ว่าเป็น “The King of Instruments” เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในโบสถ์ใช้บรรเลงประกอบบทเพลงร้อง
ทางศาสนาที่เรียกว่า “เพลงโบสถ์” (Church Music) จึงมักเรียกออร์แกนที่อยู่ในโบสถ์ว่าเป็น “ออร์แกน
โบสถ์” (Church Organ) เมื่อมีลมเป่าผ่านท่อทำให้เกิดเสียงท่อละหนึ่งเสียงออร์แกนมีแผงคีย์สำหรับ
กดด้วยนิ้วมือและแผงคีย์เหยียบด้วยเท้าแผงคีย์ที่กดเล่นด้วยมือเรียกว่าแมนน่วล (Manual) แผงคีย์ที่
เหยียบด้วยเท้าเรียกว่าเพดัล (Pedal) การบังคับกลุ่มท่อต่าง ๆ ซึ่งจัดไว้เป็นพวกเดียวกันทำได้โดยการ
ใช้ปุ่มกดหรือคันยกขึ้นลงที่เรียกว่าสต็อป (Stops) ออร์แกนขนาดใหญ่จะมีกลุ่มท่อเปลี่ยนเสียงเรียกว่า
ไพพ์ (Pipes) เป็นจำนวนมากเพื่อใช้สร้างสีสันแห่งเสียงได้หลากหลาย ออร์แกนสมัยใหม่ใช้ไฟฟ้าบังคับ
แทนลมซึ่งตามแบบดั้งเดิมนั้นลมที่ใช้เกิดจากการอัดลมด้วยเท้าของผู้เล่นหรือไม่ก็มีผู้ช่วยอัดลมแทนให้
3)ฮาร์ปสิคอร์ด (Harpsichord)
เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ใช้กันมากในศตวรรษที่ 16,17 และ18 เกิดก่อนเปียโน สายภายในเครื่อง
ดนตรีจะถูกเกี่ยวด้วยไม้ดีด ขณะที่เรากดคีย์ลงไป
ฮาร์ปสิคอร์ดไม่สามารถเล่นให้เกิดเสียงดัง – ค่อย ได้เหมือนเปียโน
4)คลาวิคอร์ด (Clavichord) เป็นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดในยุคแรก ๆ ประเภทเกิดเสียงได้.
จากการดีดโดยมีสายเสียงที่ขึงไปตามส่วนรูปของกล่องไม้ ส่วนปลายสุดของคีย์จะมีกลไกการงัดหรือ
แตะของลิ่มทองเหลืองเล็ก ๆ เมื่อผู้เล่นกดคีย์ลงไปลิ่มทองเหลืองนี้ก็จะยกขึ้นและตีไปที่สายเสียงเพื่อทำ
ให้เกิดเสียง
คลาวิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดประเภทแรกที่สามารถเล่นได้ทั้งเบาและดังโดย
เปลี่ยนแปลงน้ำหนักการกดคีย์ เสียงที่ได้จากคลาวิคอร์ดนี้มีความไพเราะและนุ่มนวล
5) แอกคอร์เดียน (Accordion) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วเช่นเดียวกับเปียโนเสียงของ
แอกคอร์เดียนเกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่องอันเนื่องมาจากการเล่น
ผ่านเข้า – ออกของลมซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้า – ออก

แอกคอร์เดียนมีหลายขนาดเช่นขนาด 25 ลิ่มนิ้ว 12 เบส ขนาด 37 ลิ่มนิ้ว 80 เบส และขนาด
ใหญ่ซึ่งนิยมใช้เล่นโดยทั่วไปจะมี 41 ลิ่มนิ้ว 120 เบส และยังมีปุ่มปรับเสียงเปลี่ยนระดับเสียงติดอยู่ทาง
ด้านขวาอีกหลายปุ่ม ทางด้านซ้ายอาจมีช่องปรับความดัง – ค่อยซึ่งเปิด – ปิด ได้อีก 3-4 ช่อง ปุ่มปรับ
ระดับเสียงจะเป็นปุ่มเสียงต่ำ (Low reed)
แอกคอร์เดียนนิยมใช้กับวงดนตรีขนาดเล็กเช่น วงดนตรีประจำหมู่บ้าน วงดนตรีลูกทุ่ง
วงคอมโบ วงโฟล์คซอง เป็นต้น

4.กลุ่มเครื่องกระทบหรือเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion Instruments)



เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงดังขึ้นจากการตีกระทบ
การสั่น การเขย่า หรือ การเคาะ การตีอาจใช้ไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิด
เสียง เครื่องตีกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือ แผ่นหนังขึงตึง
เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องตีกระทบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
4.1 เครื่องดนตรีมีระดับเสียงแน่นอน เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำ เหมือนกับ
เครื่องดนตรีประเภทอื่นเกิดเสียงโดยการตีกระทบ ได้แก่
1)ระฆังราว (Tubular Bells) ในภาษาอังกฤษเรียกระฆังราวว่า “Orchestral Bells”
และ “Chimes” เครื่องดนตรีชนิดนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเลียนเสียงระฆังจริง ๆ ทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียง
ตามลำดับเสียงต่ำไปยังเสียงสูงท่อโลหะที่มีขนาดสั้นจะเป็นเสียงสูงส่วนท่อยาวจะเป็นเสียงต่ำ แขวนกับ
โครงโลหะในแนวดิ่ง ใช้ไม้ตีที่ปลายท่อด้านหัวจะเกิดเป็นเสียงเหมือนเสียงระฆัง

2)มาริมบา (Marimba) คือเครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอนเป็นระนาดของดนตรี
ตะวันตก ลักษณะทั่ว ๆ ไปเหมือนกับไซโลโฟนหรือไวปราโฟนเป็นระนาดไม้ขนาดใหญ่ลูกระนาดทำด้วย
ไม้ที่มีชื่อว่า “โรสวู้ด” ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง
3)ไซโลโฟน (Xylophone) คือเครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอน เป็นระนาดไม้
ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตกลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไวบราโฟนลูกระนาดทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกนใต้ลูกระนาด
มีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียงประกอบด้วย 2 ขนาด
4)ไวปราโฟน (Vibraphone) คือเครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอนเป็นระนาด
โลหะของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไซโลโฟนเป็นระนาดขนาดใหญ่ ลูกระนาด
ทำด้วยโลหะใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะเพื่อเป็นตัวขยายเสียงมีแกนใบพัดเล็ก ๆ ประจำอยู่แต่ละท่อใช้ระบบ
มอเตอร์หมุนใบพัด ทำให้เกิดเอฟเฟค (Sound Ettect) เสียงสั่นรัวได้
4.2 เครื่องดนตรีมีระดับเสียงไม่แน่นอน เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงแน่นอน
หน้าที่สำคัญก็คือใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะเกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด
ประกอบด้วย

1) ฉาบ (Cymbals) ฉาบคือเครื่องตีกระทบ มีหลายลักษณะบางชนิดใช้ตีเป็นคู่ให้
เกิดเสียงผู้ตีต้องสอดมือเข้าไปที่หูร้อยฉาบซึ่งทำด้วยสายหนังแบฝ่ามือประกบแนบกับฝาฉาบตรงส่วน
นูนกลางฉาบ แล้วตีกระทบฝาฉาบด้วยมือทั้งสองข้าง ฉาบบางชนิดใช้เพียงข้างเดียว ตีด้วยไม้ตี ฉาบ
ประเภทนี้ต้องติดตั้งบนขาตั้งเช่นฉาบสำหรับกลองชุด ฉาบมีหลายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากก็จะทำ
ให้เกิดเสียงดัง และความก้องกังวานมากขึ้นด้วย
2)ไทรแองเกิล หรือ กิ่ง (Triangle) คือเครื่องตีกระทบ ทำด้วยแท่งโลหะ ดัดให้เป็น
รูปสามเหลี่ยม แท่งโลหะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. เพื่อให้เสียงดังกังวานต้องแขวนกิ่งไว้
กับเชือกแล้วตีกระทบด้วยแท่งโลหะ กิ่งมีเสียงแจ่มใสมีชีวิตชีวา
3) มาราคัส (Maracas) คือ เครื่องตีกระทบเดิมทำด้วยผลน้ำเต้าแก่จัดทำให้แห้ง ภายใน
บรรจุด้วยเมล็ดน้ำเต้า เมล็ดถั่วต่าง ๆ ต่อด้ามไว้สำหรับถือเวลาเล่นใช้เขย่าเพื่อให้เกิดเสียงดังซ่า ๆ จะ
เขย่าด้วยมือทั้งสองข้างให้ดังสลับกันในปัจจุบันทำด้วยไม้และมักใช้ประกอบในเพลงประเภทลูกกรุงของ
ไทย หรือเพลงในกลุ่มอเมริกาใต้4)คาบาซา (Cabaza) คือเครื่องกระทบจังหวะเดิมทำด้วยผลน้ำเต้าหรือ
ผลบวบแห้งภายนอกกรอบ ๆ ท่อหุ้มด้วยลูกประคำร้อยเชือกมีด้ามถือหรือไม่
มีก็ได้เกิดเสียงโดยการหมุน สั่น เขย่า ถู เพื่อให้ลูกประคำเคลื่อนที่เสียด
สีกับผิวของผลน้ำเต้าหรือผลบวบทำให้เกิดเสียงดังขึ้นเสียงของคาบาซา
ฟังคล้ายกับเสียงของมาราคัสปัจจุบันคาบาซาทำด้วยไม้ประกอบโลหะ
เป็นทรงกระบอกมีด้ามจับถือ ผิวของทรงกระบอกห่อหุ้มด้วยแผ่นโลหะ
ทำผิวให้ขรุขระลูกประคำทำด้วยโลหะร้อยติดกันล้อมรอบผิวโลหะ
5) กลองใหญ่ (Bass drum) คือเครื่องตีกระทบ มี 2 หน้าขึงด้วยหนังกลอง กลองใหญ่ที่ใช้ในวงออร์เคสตราจะ
มีขนาดใหญ่กว่า 32 นิ้ว ถ้าใช้ในวงโยธวาทิตจะมีขนาดตั้งแต่ 24-32 นิ้ว ตีด้วยไม้ตี ปลายไม้ข้างหนึ่งทำเป็นปมไว้สำหรับใช้
ตีกระทบกับหนังกลอง ปมนั้นอาจจะหุ้มด้วยสักหลาด ไม้ก็อก ผ้านวม หรือฟองน้ำ เสียงกลองใหญ่ตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้
เกิดความหนักแน่น หรืออาจจะใช้รัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น รัวเพื่อสร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้
6)กลองเล็ก (Snare drum) กลองเล็ก คือเครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง
ลักษณะเฉพาะก็คือหน้ากลองด้านล่างขึงคาดไว้ด้วยสายสะแนร์ทำด้วยเอ็นสัตว์ในปัจจุบันสายสะแนร์
มีทั้งที่ทำด้วยไนล่อนและทำด้วยเส้นลวดโลหะ กลองเล็กมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น Snare drum มีขาตั้งรองรับ
ตัวกลองใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลองชุดหรือนำมาใช้บรรเลงประกอบจังหวะสำหรับวงออร์เคสตราหรือวงดนตรี
อื่น ๆ ที่นั่งบรรเลง สำหรับวงโยธวาทิตและแตรวงมีตัวยึดกลองทำด้วยโลหะคล้องยึดไว้กับลำตัวของผู้ตีกลอง
จะอยู่ด้านหน้าของผู้ตี
7)กลองทิมปานี (Timpani) กลองทิมปานีเป็นกลองที่มีลักษณะเหมือนกะทะหรือกาต้ม
น้ำจึงมีชื่อหนึ่งว่า Kettle drum ตัวกลองทำด้วยโลหะทองแดงตั้งอยู่บนขาหยั่ง กลองทิมปานีมีระดับ
เสียงแน่นอนเทียบเท่ากับเสียงเบส มีเท้าเหยียบเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงตามที่ต้องการ ในการบรรเลง
ต้องใช้อย่างน้อย 2 ใบ จึงมีรูปพหูพจน์อยู่เสมอคือ “Timpani” ถ้าเป็นเอกพจน์หรือกลองลูกเดียวเรียก
ว่า “Timpano” เสียงของกลองทิมปานีแสดงอำนาจความยิ่งใหญ่ตื่นเต้นเร้าใจ

กลองทิมปานีเป็นกลองที่มีระดับเสียงที่นิยมมี 4 ขนาด คือ 20 นิ้ว 23 นิ้ว 26 นิ้วและ29นิ้ว
กลองแต่ละใบจะมีช่วงห่างของเสียงอยู่ราวคู่ 5 เพอร์เฟค (Perfect) และถ้าต้องการจะให้มีเสียงที่ดีควร
จัดให้เสียงอยู่ช่วงกลาง เสียงของกลองแต่ละใบมีช่วงกว้างของเสียงดังนี้คือ

8)กลองชุด (Drum set) กลองชุด คือกลองที่ประกอบด้วยกลองใหญ่ กลองสะแนร์ ฉาบ 1
หรือ 2 ใบ กลองทอม 2 หรือ 3 ลูก ไฮแฮท 1คู่ พร้อมทั้งยังเพิ่มเครื่องกระทบจังหวะอื่น ๆ ประกอบเข้า
ด้วยกันเป็นพิเศษอีก เช่น คาวเบลส์ เป็นต้น
9)คองก้า (Conga) คองก้าคือชื่อกลองชนิดหนึ่งมีรูปทรงต่าง ๆ กัน โดยปกติมีความสูง
ประมาณ 30 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 11 นิ้ว ตัวกลองทำด้วยไม้อาจใช้ท่อนไม้นำมาขุดให้กลวง
หรือใช้แผ่นไม้ตัดให้เป็นรูปทรงตัวกลองคาดแผ่นโลหะไว้รอบตัวกลองติดยึดด้วยหมุดโลหะ คองก้าเป็น
กลองหน้าเดียว ขึงด้วยหนังสัตว์

กลองคองก้ามีหลายขนาด ต่างระดับเสียงกัน จะใช้ 3-5 ใบ หรือมากกว่านั้นก็ได้ ปกติใช้
อย่างต่ำ 2 ใบตีสอดสลับกันตามลีลาจังหวะของบทเพลง ตีด้วยปลายนิ้วและฝ่ามือเช่นเดียวกับการตี
กลองบองโก

10) กลองบองโก (Bongos) กลองบองโกเป็นกลองคู่ต้องมี 2 ลูกเสมอ เล็ก 1 ลูก ใหญ่ 1
ลูก ระดับเสียงของกลอง 2 ลูกตั้งให้ห่างกันในระยะคู่ 4 หรือคู่ 5 โดยประมาณ หนังกลองบองโกตั้งตึง
กว่ากลองคองก้า กลองบองโกทั้งสองลูกติดตั้งกับอุปกรณ์ยึดติดให้อยู่คู่กัน ขณะที่ตีกลองผู้ตีต้องหนีบ
กลองทั้ง 2 ใบ ให้อยู่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้างด้วยหัวเข่าหรือวางตั้งไว้บนขาตั้งโลหะก็ได้
กลองบองโกจะต้องตีด้วยปลายนิ้วมือและฝ่ามือเช่นเดียวกับกลองคองก้า
11)แทมบูรีน(Tambourine)เป็นเครื่องตีกระทบจังหวะประกอบขึ้นด้วยขอบกลมเหมือน
ขอบกลองขนาดเล็กประมาณ 10 นิ้ว ขอบอาจจะทำด้วยไม้ พลาสติก หรือโลหะ รอบ ๆ ขอบติดด้วย
แผ่นโลหะประกบกัน 2 แผ่นหรือติดด้วยลูกกะพรวนเป็นระยะใช้ตีกระทบกับฝ่ามือ หรือสั่นเขย่าให้เกิด
เสียงดังกรุ๋งกริ๋งเพื่อประกอบจังหวะ แทมบูรีนบางชนิดขึงด้วยหนัง 1 ด้าน ใช้ฝ่ามือตีที่หนังได้
12)คาวเบลส์ (Cowbells) คาวเบลส์คือเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ พัฒนามาจาก
กระดิ่งผูกคอวัว นำมาทั้งรูปร่างและชื่อรูปทรงคล้ายกับระฆังมากกว่ากระดิ่ง ตีด้วยไม้กลอง คาวเบลส์
ใช้มากในดนตรีละตินอเมริกา ดนตรีประกอบการเต้นลีลาศหรือเพลงลูกทุ่งของไทย คาวเบลส์ยังใช้เป็น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แนะนำการเล่นดนตรีสากล
 ดนตรีเป็นเรื่องของ “เสียง” ที่เราได้ยินกันเป็นประจำผ่านทางสื่อประเภทต่างๆ ดนตรีในปัจจุบันมีหลากหลายประเภท ป็อบ ร็อค แร็พ แจ๊ส ลูกทุ่ง หมอลำ เพลงคลาสสิค เพลงไทยเดิม ฯลฯ ซึ่งเปรียบเสมือนอาหารนานาชนิดที่มีรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ที่เรากินกันอยู่ทุกวัน
     
      ดังนั้นสิ่งที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ก็คือ ดนตรีเป็นสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กแล้วนั้น “ดนตรีกับเด็ก” นับว่าเป็นสิ่งที่ผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง เพราะดนตรีเป็นสื่อที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กโดยตรงและสร้างความสุขให้เด็กได้อย่างง่ายๆ และที่สำคัญดนตรีเป็นเหมือนทางลัดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาใช้ในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็กได้เป็นอย่างดี

ดนตรีดีต่อเด็กอย่างไร?

1. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย

      เราจะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อเด็กได้ยินเสียงดนตรีที่มีทำนองและจังหวะที่สนุก เด็กก็จะกระโดดโลดเต้น เคลื่อนไหวร่างกาย ตามเสียงดนตรีอย่างมีความสุขสนุกสนาน ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กๆมีร่างกายแข็งแรงเพราะได้บริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนร่างกาย  เช่น แขน ขา นิ้วมือ คอ ไหล่

2. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจ

      อารมณ์ความรู้สึกของคน มีขึ้นมีลงคล้ายท่วงทำนองของเสียงดนตรี ดนตรีที่มีจังหวะช้าจะทำให้เด็กมีอารมณ์ผ่อนคลาย สงบ มีสมาธิ และช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยน ในขณะที่ดนตรีที่มีจังหวะเร็ว จะทำให้เด็กๆมีอารมณ์แจ่มใส และมีจิตใจที่เบิกบาน

3. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสังคม

    - กิจกรรมดนตรีแบบกลุ่ม คือการที่เด็กๆได้ทำกิจกรรมดนตรีร่วมกับผู้อื่น เช่น การร้องเพลง เต้นระบำ รำละคร หรือ       การตั้งวงดนตรี เล่นกับคุณพ่อคุณแม่พี่ๆน้องๆในบ้านหรือกับเพื่อนๆที่โรงเรียน เป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กๆได้           รู้จักการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
    - กิจกรรมดนตรีแบบเดี่ยว เช่น การเล่นดนตรี การร้องเพลง หรือการเต้นระบำรำฟ้อนคนเดียวต่อหน้าคนอื่น ช่วย          พัฒนาบุคลิกภาพและสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงความสามารถ          ให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) และตระหนักถึงคุณค่า         ของตัวเอง (Ego Asset)

4. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญา
    - ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่นเมื่อเด็กได้ฟังหรือร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของจำนวน และ         การนับ หรือการที่เด็กได้หัดอ่านโน้ตดนตรี
    - ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่นเมื่อเด็กได้ร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติจากเนื้อเพลงที่         เกี่ยวกับสัตว์ ต้นไม้ รุ้งกินน้ำ พระจันทร์ ดวงดาว
    - ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางด้านภาษา เช่น เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศผ่านทาง       เนื้อเพลง
    - ดนตรีช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เช่นเมื่อเด็กๆฟังเพลงแล้วคิดท่าเต้นแบบต่างๆได้ด้วยตนเอง หรือแปลงกาย       เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ การที่เด็กได้คิดค้นวิธีเล่นเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ หรือการที่เด็กแต่งเนื้อเพลงหรือทำนองเพลง         ด้วยตัวของเขาเอง
     
         ดนตรีเหมือนขนมของหนูๆที่กินแล้วทั้งสนุก แถมได้รสชาติที่แสนอร่อย และยังเป็นขนมที่มีความพิเศษคือมีประโยชน์แก่ร่างกาย อารมณ์  และจิตใจ สังคมและสติปัญญาของหนูๆอีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่อย่ารอช้า ไปเลือกหาดนตรีขนมอร่อยจานนี้ให้กับพวกเขากันดีกว่า เอ๊ะหรือว่าจะร่วมกันปรุง ร่วมกันแต่งขึ้นมากับพวกหนูๆของเราก็ได้นะ ไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด (^_^)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขอดีในการเล่นดนตรี

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

เครื่องดนตรี

เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
          เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองนี้ เรียกรวม ๆ ว่ากลุ่มแตร ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องดนตรีกลุ่มนี้ คือ ท่อลมทำด้วยโลหะขนาดต่าง ๆ กัน การเกิดเสียงเกิดจากการเป่าลมให้เกิดการสั่นสะเทือนที่ริมฝีปากของผู้เล่น ผ่านเข้าไปในที่เป่า (Mouth Piece) การเป่าเครื่องลมทองเหลือง จึงขึ้นอยู่กับริมฝีปากเป็นสำคัญ เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีดังนี้

          1) เฟรนช์ฮอร์น (France horn) ปัจจุบันเรียกว่า "ฮอร์น" ต้นกำเนิดของฮอร์นคือเขา สัตว์ ฮอร์นที่เก่าแก่ที่สุดคือ โชฟาร์ (Shofar) ของชาวฮิบรู ทำด้วยเขาแกะ เฟรนช์ฮอร์น เป็นแตรที่มีช่วงเสียงกว้างถึง 3 ออคเทฟครึ่ง มีท่อยาวประมาณ 12-15 ฟุต แต่นำมาขดเป็นวงโค้งไปมา เพื่อให้สะดวกแก่ผู้เป่าจนเหลือความยาวจากปากเป่าถึงปากลำโพงเพียง 20 นิ้ว เสียงของเฟรนซ์ ฮอร์น สดใส สง่า จัดว่าเป็นพระเอก ในบรรดาเครื่องลมทองเหลือง           นักแต่งเพลงหลายคนใช้เสียงของเฟรนซ์ฮอร์นบรรยายความงามของธรรมชาติ เช่น ท้องทะเลครามอันกว้างใหญ่ไพศาล และหุบเขาที่มีเสียงสะท้อนก้องกลับไปกลับมา เนื่องจากท่อลมมีขนาดยาวมากการบังคับริม
ฝีปากในการเป่าจึงเป็นเรื่องยาก 111

 2)ทรอมโบน (Trombone) เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนา และพิธียุรยาตรร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วย ท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า - ออกได้ (telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบสองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอก เช่นเดียวกับทรัมเป็ต ส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนมีเสียงทุ้ม ห้าว ไม่สดใส เหมือนทรัมเป็ต ปัจจุบันนิยมใช้แพร่หลายในวงดนตรีชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกันทรัมเป็ตประกอบด้วย เทเนอร์ทรอมโบน (Tenor Trombone)และ เบสทรอมโบน (Bass Trombone)
3)ทรัมเป็ต (Trumpet) ในสมัยโบราณชาวยุโรปถือว่าแตรทรัมเป็ตเป็นของคนชั้นสู้ผู้ ที่จะมีสิทธิเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ได้ต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูงหรือไม่ก็นักรบชั้นแม่ทัพ สามัญชนไม่มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ ทรัมเป็ตเป็นแตรที่มีท่อลมรูปทรงกระบอกขนาดของท่อลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว โค้งงอทบกันเป็นสามทบ ติดลูกสูบเพื่อใช้บังคับเสียง 3 อัน ( 3 valve) อยู่ตรงกลางลำตัว ผู้เป่าจะใช้นิ้วบังคับลูกสูบทั้งสามโดยการกดลงหรือผ่อนให้ขึ้นแนวตั้ง กำพวด (Mouthpiece) ของทรัมเป็ตเป็น "กำพวดรูปถ้วยหรือระฆัง" ซึ่งทำให้แตรทรัมเป็ตสามารถเล่นเสียงสูงได้สดใสแผดกล้า ให้ความรู้สึกตื่นเต้นได้ดี แต่ถ้าเล่นเสียงต่ำ จะให้ความนุ่มนวล ลักษณะคล้ายเสียงกระซิบกระซาบได้ดีเช่นเดียวกัน บางครั้งผู้เป่าต้องการลดเสียงของแตรให้เบาลงทำให้เกิดเสียงที่แปลกหูก็สามารถใช้ "มิวท์" (Mute) สวมเข้าไปในปากลำโพงของแตร ในปัจจุบันทรัมเป็ตเป็นแตรที่
4)คอร์เน็ต (Cornet) คอร์เน็ต คือเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีลักษณะคล้ายกับทรัมเป็ต แต่ลำตัวสั้นกว่า คุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวล กลมกล่อม แต่ความสดใสของเสียงน้อยกว่าทรัมเป็ต คอร์เน็ตถูกนำมาใช้ในวงออร์เคสตร้าครั้งแรกประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่าของ Rossini เรื่อง William Tell ในปัจจุบันคอร์เน็ตเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงโยธวาทิตและแตรวง

 5)ฟลูเกิลฮอร์น (Flugelhorn)เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองเช่นเดียว กับทรัมเป็ต มีลักษณะคล้ายกับแตรบิวเกิลปรกติจะมี 3 ลูกสูบ ท่อลมกลวงเป็นรูปกรวยปลายบานเป็นลำโพงรูปร่างค่อนข้างจะใหญ่กว่าคอร์เน็ต ลักษณะของเสียงจะคล้ายกับฮอร์น แต่มีความห้าวมากกว่าฮอร์น
6)ยูโฟเนียม (Euphonium) ยูโฟเนียม คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองคุณภาพเสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียงต่ำได้ดี บางครั้งนำไปใช้บรรเลงในวงออร์เคสตร้าแทนทูบา คำว่ายูโฟเนียมมาจากภาษา กรีกหมายถึง "เสียงดี"ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไป จะมีลูกสูบ 3-4 สูบ มีกำพวดเป็นรูปถ้วย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพง
7)ทูบา (Tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูล แซ็กฮอร์น ซึ่งอดอล์ฟแซ็ก ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ปี 1845 แตรตระกูลแซกฮอร์น มีหลายขนาดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามขนาด เช่น บาริโทน ยูโฟเนียม การผลิตให้มีหลายขนาดก็เพื่อจะให้มีแตรหลาย ๆ ระดับ เสียงเพื่อใช้ในวงแตรวง และวงโยธวาทิต ส่วนที่ใช้ในวงออร์เคสตร้า ซึ่งมีมาแต่เดิม และนิยมใช้มากที่สุดคือ ทูบา ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9 ,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบบังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน เสียงของทูบาต่ำ ลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า "พีเดิล โทน" (pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทองเหลือ
 
8) ซูซาโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องดนตรีที่ จอร์น ฟิลิป ซูซา (Johe Philip Sousa,1854-1932)ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แทนทูบา เพื่อให้ง่ายแก่การเดินสนาม สุ้มเสียงของซูซาโฟน มีเสียงแบบเดียวกับทูบา ฉะนั้นจึงใช้แทนกันได้ 
ช่วงเสียงของซูซาโฟน




กลุ่มเครื่องลมไม้ (WoodWind Instrument) 

          เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments) ในปัจจุบันมีเครื่องดนตรีหลายเครื่องที่ไม่ได้ทำด้วยไม้ เนื่องจากไม้หายาก จึงใช้วัสดุอย่างอื่นสร้างขึ้นแต่วิธีการเกิดเสียงและคุณภาพเสียง ก็ยังเหมือนกับทำด้วยไม้ทุกประการ เครื่องดนตรีกลุ่มเครื่องลมไม้ ยังแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า(Blowing into a tube) ลำตัวมีลักษณะเป็นท่อ เครื่องเป่าประเภทนี้มีลิ้นอยู่ข้าง และประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้น (Blowing through a reed) เครื่องลมไม้ประเภทขลุ่ย ยังแบ่งตามลักษณะของการเป่าได้ 2 ประเภทคือ ประเภทเป่าตรงปลาย เช่น ขลุ่ยเรคคอร์เดอร์ ประเภทเป่าด้านข้าง เช่น ฟลูท และปิคโคโล

          1) ฟลูท (Flute) เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีการพัฒนา แรกเริ่มมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ คงใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล่องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูทเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง มีความยาว 26? นิ้ว มีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางจนถึง C สูงขึ้นไปอีก 3 ออคเทฟ เสียงแจ่มใส จึงเหมาะสำหรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนอง ใช้เลียนเสียงนกเล็ก ๆ ได้ดี และเสียงต่ำของฟลูทตจะให้เสียงที่นุ่มนวล
2) ปิคโคโล (Piccolo) เป็นขลุ่ยขนาดเล็ก มีลักษณะเช่นเดียวกับฟลูท แต่เล็กกว่า ทำมาจากไม้ หรือ อีบอร์ไนท์ (Ebonicte) แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ ยาวประมาณ 12 นิ้ว เสียงเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะเป่าเพียงเครื่องเดียว ปิคโคโล เล่นได้ดีเป็นพิเศษ เกี่ยวกับเสียงรัว (Trillo) และการเดี่ยว (Solo) ในขณะที่วงโยธวาทิตบรรเลงทั้งวง ก็จะได้ยินเสียงของปิคโคโลได้ชัดเจน
 เครื่องลมไม้อีกประเภทหนึ่งคือ ประเภทปี่ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ มีลิ้น (Reed) เป็นตัวสั่นสะเทือน ส่วนที่เป็นลิ้นจะอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของปี่ เมื่อเป่าลมผ่านลิ้นให้สั้นแล้วลมก็จะเข้าไปในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียง หรือตัวกำธร แล้วออกไปยังปากลำโพง เครื่องดนตรีพวกปี่ ยังจำแนกออกได้ตามลักษณะของลิ้นที่ใช้เป็นประเภทลิ้นคู่ (Double reed) และลิ้นเดี่ยว(Single reed)

ประเภทลิ้นคู่ (Double reed) 


          1) โอโบ (Oboe) เป็นปี่ลิ้นคู่ที่เก่าแก่ที่สุดชาวอียิปต์โบราณ ได้เคยใช้ปี่ที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกับปี่โอโบ เมื่อประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว ก่อนคริสต์กาล ชาวกรีกและชาวโรมันโบราณ มีปี่ลิ้นคู่ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ออโรส" (Aulos) โอโบลำตัวยาวประมาณ 25.5 นิ้ว เป็นรูปทรงกรวย ทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์ ส่วนลิ้นคู่นั้นทำจากไม้ที่ลำต้นมีข้อและปล้อง จำพวก กก หรือ อ้อ ที่ขึ้นในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ลิ้นของปี่โอโบ ได้รับการผลิตอย่างปราณีตมาแล้วจากโรงงานผู้เล่นส่วนมากนิยมนำมาตกแต่งเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับริมฝีปากของตนเอง
โอโบเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากมาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโอโบต้องใช้ลมเป่ามาก แต่ความจริงหาแล้วแม้แต่เด็กผู้หญิงก็สามารถเป่าได้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญอยู่ตรงที่ลิ้นคู่หรือลิ้นแฝด ผู้เล่นต้องสามารถเม้มริมฝีปาก และเป่าลมแทรกลงไประหว่างลิ้นคู่ทั้งสองที่บอบบาง เข้าไปในท่อลม เทคนิคการควบคุมลมให้สม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นมากจึงต้องฝึกฝนกันเป็นเวลานาน
ช่วงเสียงของโอโบกว้างประมาณ 2 ออคเทฟครึ่ง เริ่มตั้งแต่ B flat ต่ำถัดจาก C กลาง สำเนียงของโอโบ ไม่สง่าผ่าเผยเหมือนฟลูท มีลักษณะแบน ๆ คล้ายเสียงออกจมูก เหมาะสำหรับทำนอง เศร้า ๆ บรรยากาศของธรรมชาติและลักษณะของดินแดนทางตะวันออก หน้าที่ที่สำคัญของโอโบอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นเครื่องเทียบเสียงของวงออร์เคสตรา (A tuning fork for the orchestra) ก่อนการบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ จะต้องเทียบเสียง "ลา" (A)
 2)คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) ปราชญ์ทางดนตรีได้สันนิษฐานว่า โดยที่ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่า ส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้น) กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า "อองเกล (Angle)" ขึ้นต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า "คอร์" (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn) ปี่ชนิดนี้นอกจากมีชื่อประหลาดแล้ว ยังมีรูปร่างที่น่าทึ่งอีกด้วย คือ ส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็นท่อลมโลหะงอโค้งติดกับลำตัวปี่ ซึ่งปี่โอโบไม่มี ตรงปลายสุดที่เป็นปากลำโพง (Bell) ป่องเป็นกระเปาะกลม ๆ ซึ่งปี่โอโบมีลำโพงคล้ายปี่คลาริเนต คอร์แองเกลส์เป็นปี่ตระกลูเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบ ระดับเสียงต่ำกว่าโอโบ และเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อ พยุงน้ำหนักของปี
3)บาสซูน (Bassoon) เป็นปี่ขนาดใหญ่ ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบ รูปร่างของบาสซูน ค่อนข้างจะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ ได้รับฉายาว่าเป็น "ตัวตลกของวงออร์เคลตร้า" (The Clow of the Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (Staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด…คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลก ที่มีอากัปกริยากระโดดเต็นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์ เนื่องจากความใหญ่โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลิ่มให้เหลือความยาวประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักเรียกว่า Sling เพื่อให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกด แป้นนิ้วต่าง ๆ ได้สะดวก เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของกลุ่มเครื่องลมไม้ นอกนั้นยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างงดงามอีกด้วย
ช่วงเสียงของบาสซูน


เครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นเดียว (Single Reed)
          1)คลาริเนต (Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดาเครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนต เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรี เกือบทุกประเภทและเป็นเครื่องมือที่สำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส ปี่คลาริเนต ทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์ เช่นเดียวกับปี่โอโบ มีรูปร่างคล้ายโอโบมาก ความแตกต่างอยู่ที่ลิ้นเดียว คลาริเนตยาวกว่าโอโบเล็กน้อย รูปทรงของท่อลมเป็นทรงกระบอก ปากลำโพงบานเป็นทรงระฆัง ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 26 นิ้ว คลาริเนต มีเสียงกว้างที่สุดในบรรดาเครื่องลมไม้
          ปี่ชนิดนี้แตกต่างกับขลุ่ยฟลูทในเรื่องคุณสมบัติของเสียง เสียงของฟลูทจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าใด แต่เสียงของคลาริเนตแตกต่างกันมากจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คลานิเน็ตให้เสียงสูงสดใส่ ร่าเริง คม ชัดเจน มีความคล่องตัวในการบรรเลงสูง เวลาเป่าผู้เป่าจะเม้มริมฝีปากให้ลิ้นของปี่แตะอยู่บนริมฝีปากล่าง ส่วนริมฝีปากบนผู้เป่าจะทำให้เกิดคุณสมบัติของเสียงตลอดจนความดังหรือเบาให้แตกต่างกัน โดยการให้ลิ้นของปี่เข้าไปอยู่ในปากมากหรือน้อยและการเม้มริมฝีปากล่างกดกับลิ้นปี่ หนัก - เบา เพียงใด ในวงโยธวาทิตถือเป็นเครื่องที่สำคัญและได้รับสมญาว่าเป็นไวโอลิน ของวงโยธวาทิต ปี่คลาริเนตมีหลายขนาด แต่ที่นิยมใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันมี Bb คลาริเนต และ Eb คลาริเนต
2)เบส คลาริเนต (Bass Clarinet) เป็นปี่คลาริเนตขนาดใหญ่มีช่วงเสียงต่ำกว่า คลาริเนตธรรมดา 1 ออคเทฟ ลำตัวยาวกว่าคลาริเนต ส่วนปากลำโพงทำด้วยโลหะและงอนขึ้นส่วนที่เป่างอโค้งทำมุมกับตัวปี่ การประดิษฐ์เบส คลาริเนตขึ้นมีความมุ่งหมายเพื่อให้มีเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลคลาริเนตครบ
3)แซกโซโฟน (Saxophone) มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องลมไม้ มีอายุน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ประดิษฐ์เมื่อ ค.ศ. 1840 ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส อดอล์ฟ แซกเป็นผู้ผลิต เขาผลิตแซกโซโฟนอย่างไรนั้น เรื่องมีอยู่ว่า ก่อน ค.ศ. 1840 เล็กน้อย ได้มีหัวหน้าวงโยธวาทิตมาจ้างให้เขา ผลิตเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ ซึ่งสามารถเล่นเสียงให้ดัง เพื่อใช้ในวงโยธวาทิต (Military Band) และต้องการให้เครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้เป็นเครื่องลมไม้ เขาจึงนำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งล้าสมัยแล้ว เรียกว่าแตร ออพิคเลียด (Ophiclede) มาถอดที่เป่าอันเดิมออก แล้วเอาที่เป่าของคลาริเนต มาใส่แทน จากนั้นเขาได้แก้กลไกของกระเดื่องต่าง ๆ และปรับปรุงจนสามารถใช้งานได้ แซกโซโฟนจึงได้กำเนิดขึ้นมาเป็นชิ้นแรกของโลก
ในอดีตแซกโซโฟนมีฉายาว่าคลาริเนตทองเหลือง เพราะสามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่วปราดเปรียวเหมือนคลาริเนต ในปัจจุบันแซกโซโฟนได้รับความนิยมสูงสุด ดังจะเห็นได้จากศิลปินต่างประเทศได้นำมาแสดงในเมืองไทยหลายครั้ง และมีการจัดอันดับผู้ที่มีความสามารถในการเล่นแซกโซโฟนของโลกด้วย เช่น Kenny G, Grover Washington,Jr. ,Sadao watanabe, เป็นต้น
          ในวงออร์เคสตรา ไม่นิยมใช้แซกโซโฟน เพราะบทบรรเลงที่ใช้สำหรับวงออร์เคสตราส่วนใหญ่ เกิดก่อนแซกโซโฟน แต่ปัจจุบันแซกโซโฟนเป็นเครื่องเป่าที่มีบทบาทมากทั้งในวงโยธวาทิต วงแจ๊ส วงคอมโบ ตลอดจนวงดนตรีสมัยใหม่ แซกโซโฟนที่นิยมใช้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวงออร์เคสตราหรือแซกโซโฟนควอเต็ต (Quartet) มี 4 ขนาด คือ บีแฟล็ต โซปราโน, อีแฟล็ต อัลโต, บีแฟล็ต เทเนอร์, และอีแฟล็ตบาริโทน
�������





กลุ่มเครื่องกระทบหรือเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion Instruments) 


เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงดังขึ้นจากการตีกระทบ 

การสั่น การเขย่า หรือ การเคาะ การตีอาจใช้ไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิด

เสียง เครื่องตีกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือ แผ่นหนังขึงตึง

เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องตีกระทบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 



4.1 เครื่องดนตรีมีระดับเสียงแน่นอน เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำ เหมือนกับ

เครื่องดนตรีประเภทอื่นเกิดเสียงโดยการตีกระทบ ได้แก่ 

1)ระฆังราว (Tubular Bells) ในภาษาอังกฤษเรียกระฆังราวว่า “Orchestral Bells” 

และ “Chimes” เครื่องดนตรีชนิดนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเลียนเสียงระฆังจริง ๆ ทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียง

ตามลำดับเสียงต่ำไปยังเสียงสูงท่อโลหะที่มีขนาดสั้นจะเป็นเสียงสูงส่วนท่อยาวจะเป็นเสียงต่ำ แขวนกับ

โครงโลหะในแนวดิ่ง ใช้ไม้ตีที่ปลายท่อด้านหัวจะเกิดเป็นเสียงเหมือนเสียงระฆัง

2)ไซโลโฟน (Xylophone) คือเครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอน เป็นระนาดไม้
ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตกลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไวบราโฟนลูกระนาดทำด้วยไม้เนื้อแข็ง 
จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกนใต้ลูกระนาด
มีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียงประกอบด้วย 2 ขนาด






เครื่องดนตรีมีระดับเสียงไม่แน่นอน
เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงแน่นอน
หน้าที่สำคัญก็คือใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะเกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด
ประกอบด้วย


1) ฉาบ (Cymbals) ฉาบคือเครื่องตีกระทบ มีหลายลักษณะบางชนิดใช้ตีเป็นคู่ให้
เกิดเสียงผู้ตีต้องสอดมือเข้าไปที่หูร้อยฉาบซึ่งทำด้วยสายหนังแบฝ่ามือประกบแนบกับฝาฉาบตรงส่วน
นูนกลางฉาบ แล้วตีกระทบฝาฉาบด้วยมือทั้งสองข้าง ฉาบบางชนิดใช้เพียงข้างเดียว ตีด้วยไม้ตี ฉาบ
ประเภทนี้ต้องติดตั้งบนขาตั้งเช่นฉาบสำหรับกลองชุด ฉาบมีหลายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากก็จะทำ
ให้เกิดเสียงดัง และความก้องกังวานมากขึ้นด้วย





2)คาบาซา (Cabaza) คือเครื่องกระทบจังหวะเดิมทำด้วยผลน้ำเต้าหรือ
ผลบวบแห้งภายนอกกรอบ ๆ ท่อหุ้มด้วยลูกประคำร้อยเชือกมีด้ามถือหรือไม่
มีก็ได้เกิดเสียงโดยการหมุน สั่น เขย่า ถู เพื่อให้ลูกประคำเคลื่อนที่เสียด
สีกับผิวของผลน้ำเต้าหรือผลบวบทำให้เกิดเสียงดังขึ้นเสียงของคาบาซา
ฟังคล้ายกับเสียงของมาราคัสปัจจุบันคาบาซาทำด้วยไม้ประกอบโลหะ
เป็นทรงกระบอกมีด้ามจับถือ ผิวของทรงกระบอกห่อหุ้มด้วยแผ่นโลหะ 
ทำผิวให้ขรุขระลูกประคำทำด้วยโลหะร้อยติดกันล้อมรอบผิวโลหะ
3) กลองใหญ่ (Bass drum) คือเครื่องตีกระทบ มี 2 หน้าขึงด้วยหนังกลอง กลองใหญ่ที่ใช้ในวงออร์เคสตราจะ
มีขนาดใหญ่กว่า 32 นิ้ว ถ้าใช้ในวงโยธวาทิตจะมีขนาดตั้งแต่ 24-32 นิ้ว ตีด้วยไม้ตี ปลายไม้ข้างหนึ่งทำเป็นปมไว้สำหรับใช้
ตีกระทบกับหนังกลอง ปมนั้นอาจจะหุ้มด้วยสักหลาด ไม้ก็อก ผ้านวม หรือฟองน้ำ เสียงกลองใหญ่ตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้
เกิดความหนักแน่น หรืออาจจะใช้รัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น รัวเพื่อสร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้




4)กลองชุด (Drum set) กลองชุด คือกลองที่ประกอบด้วยกลองใหญ่ กลองสะแนร์ ฉาบ 1 
หรือ 2 ใบ กลองทอม 2 หรือ 3 ลูก ไฮแฮท 1คู่ พร้อมทั้งยังเพิ่มเครื่องกระทบจังหวะอื่น ๆ ประกอบเข้าด้วยกันเป็นพิเศษอีก 
เช่นคาวเบลส์ เป็นต้น



5)คองก้า (Conga) คองก้าคือชื่อกลองชนิดหนึ่งมีรูปทรงต่าง ๆ กัน โดยปกติมีความสูง
ประมาณ 30 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 11 นิ้ว ตัวกลองทำด้วยไม้อาจใช้ท่อนไม้นำมาขุดให้กลวง
หรือใช้แผ่นไม้ตัดให้เป็นรูปทรงตัวกลองคาดแผ่นโลหะไว้รอบตัวกลองติดยึดด้วยหมุดโลหะ คองก้าเป็น
กลองหน้าเดียว ขึงด้วยหนังสัตว์กลองคองก้ามีหลายขนาด ต่างระดับเสียงกัน จะใช้ 3-5 ใบ หรือมากกว่านั้นก็ได้ ปกติใช้ 
อย่างต่ำ 2 ใบตีสอดสลับกันตามลีลาจังหวะของบทเพลง ตีด้วยปลายนิ้วและฝ่ามือเช่นเดียวกับการตีกลองบองโก




6) กลองบองโก (Bongos) กลองบองโกเป็นกลองคู่ต้องมี 2 ลูกเสมอ เล็ก 1 ลูก ใหญ่ 1 
ลูก ระดับเสียงของกลอง 2 ลูกตั้งให้ห่างกันในระยะคู่ 4 หรือคู่ 5 โดยประมาณ หนังกลองบองโกตั้งตึง
กว่ากลองคองก้า กลองบองโกทั้งสองลูกติดตั้งกับอุปกรณ์ยึดติดให้อยู่คู่กัน ขณะที่ตีกลองผู้ตีต้องหนีบ
กลองทั้ง 2 ใบ ให้อยู่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้างด้วยหัวเข่าหรือวางตั้งไว้บนขาตั้งโลหะก็ได้
กลองบองโกจะต้องตีด้วยปลายนิ้วมือและฝ่ามือเช่นเดียวกับกลองคองก้า


7)แทมบูรีน(Tambourine)เป็นเครื่องตีกระทบจังหวะประกอบขึ้นด้วยขอบกลมเหมือน
ขอบกลองขนาดเล็กประมาณ 10 นิ้ว ขอบอาจจะทำด้วยไม้ พลาสติก หรือโลหะ รอบ ๆ ขอบติดด้วย
แผ่นโลหะประกบกัน 2 แผ่นหรือติดด้วยลูกกะพรวนเป็นระยะใช้ตีกระทบกับฝ่ามือ หรือสั่นเขย่าให้เกิด
เสียงดังกรุ๋งกริ๋งเพื่อประกอบจังหวะ แทมบูรีนบางชนิดขึงด้วยหนัง 1 ด้าน ใช้ฝ่ามือตีที่หนังได้


8)คาวเบลส์ (Cowbells) คาวเบลส์คือเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ พัฒนามาจาก
กระดิ่งผูกคอวัว นำมาทั้งรูปร่างและชื่อรูปทรงคล้ายกับระฆังมากกว่ากระดิ่ง ตีด้วยไม้กลอง คาวเบลส์
ใช้มากในดนตรีละตินอเมริกา ดนตรีประกอบการเต้นลีลาศหรือเพลงลูกทุ่งของไทย คาวเบลส์ยังใช้เป็น
อุปกรณ์ส่วนหนึ่งของกลองชุดอีกด้วย


9.มาริมบา (Marimba) คือเครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอนเป็นระนาดของดนตรี
ตะวันตก ลักษณะทั่ว ๆ ไปเหมือนกับไซโลโฟนหรือไวปราโฟนเป็นระนาดไม้ขนาดใหญ่ลูกระนาดทำด้วย
ไม้ที่มีชื่อว่า “โรสวู้ด” ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสีย