วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

เครื่องดนตรี

เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
          เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองนี้ เรียกรวม ๆ ว่ากลุ่มแตร ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องดนตรีกลุ่มนี้ คือ ท่อลมทำด้วยโลหะขนาดต่าง ๆ กัน การเกิดเสียงเกิดจากการเป่าลมให้เกิดการสั่นสะเทือนที่ริมฝีปากของผู้เล่น ผ่านเข้าไปในที่เป่า (Mouth Piece) การเป่าเครื่องลมทองเหลือง จึงขึ้นอยู่กับริมฝีปากเป็นสำคัญ เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีดังนี้

          1) เฟรนช์ฮอร์น (France horn) ปัจจุบันเรียกว่า "ฮอร์น" ต้นกำเนิดของฮอร์นคือเขา สัตว์ ฮอร์นที่เก่าแก่ที่สุดคือ โชฟาร์ (Shofar) ของชาวฮิบรู ทำด้วยเขาแกะ เฟรนช์ฮอร์น เป็นแตรที่มีช่วงเสียงกว้างถึง 3 ออคเทฟครึ่ง มีท่อยาวประมาณ 12-15 ฟุต แต่นำมาขดเป็นวงโค้งไปมา เพื่อให้สะดวกแก่ผู้เป่าจนเหลือความยาวจากปากเป่าถึงปากลำโพงเพียง 20 นิ้ว เสียงของเฟรนซ์ ฮอร์น สดใส สง่า จัดว่าเป็นพระเอก ในบรรดาเครื่องลมทองเหลือง           นักแต่งเพลงหลายคนใช้เสียงของเฟรนซ์ฮอร์นบรรยายความงามของธรรมชาติ เช่น ท้องทะเลครามอันกว้างใหญ่ไพศาล และหุบเขาที่มีเสียงสะท้อนก้องกลับไปกลับมา เนื่องจากท่อลมมีขนาดยาวมากการบังคับริม
ฝีปากในการเป่าจึงเป็นเรื่องยาก 111

 2)ทรอมโบน (Trombone) เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนา และพิธียุรยาตรร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วย ท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า - ออกได้ (telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบสองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอก เช่นเดียวกับทรัมเป็ต ส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนมีเสียงทุ้ม ห้าว ไม่สดใส เหมือนทรัมเป็ต ปัจจุบันนิยมใช้แพร่หลายในวงดนตรีชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกันทรัมเป็ตประกอบด้วย เทเนอร์ทรอมโบน (Tenor Trombone)และ เบสทรอมโบน (Bass Trombone)
3)ทรัมเป็ต (Trumpet) ในสมัยโบราณชาวยุโรปถือว่าแตรทรัมเป็ตเป็นของคนชั้นสู้ผู้ ที่จะมีสิทธิเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ได้ต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูงหรือไม่ก็นักรบชั้นแม่ทัพ สามัญชนไม่มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ ทรัมเป็ตเป็นแตรที่มีท่อลมรูปทรงกระบอกขนาดของท่อลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว โค้งงอทบกันเป็นสามทบ ติดลูกสูบเพื่อใช้บังคับเสียง 3 อัน ( 3 valve) อยู่ตรงกลางลำตัว ผู้เป่าจะใช้นิ้วบังคับลูกสูบทั้งสามโดยการกดลงหรือผ่อนให้ขึ้นแนวตั้ง กำพวด (Mouthpiece) ของทรัมเป็ตเป็น "กำพวดรูปถ้วยหรือระฆัง" ซึ่งทำให้แตรทรัมเป็ตสามารถเล่นเสียงสูงได้สดใสแผดกล้า ให้ความรู้สึกตื่นเต้นได้ดี แต่ถ้าเล่นเสียงต่ำ จะให้ความนุ่มนวล ลักษณะคล้ายเสียงกระซิบกระซาบได้ดีเช่นเดียวกัน บางครั้งผู้เป่าต้องการลดเสียงของแตรให้เบาลงทำให้เกิดเสียงที่แปลกหูก็สามารถใช้ "มิวท์" (Mute) สวมเข้าไปในปากลำโพงของแตร ในปัจจุบันทรัมเป็ตเป็นแตรที่
4)คอร์เน็ต (Cornet) คอร์เน็ต คือเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีลักษณะคล้ายกับทรัมเป็ต แต่ลำตัวสั้นกว่า คุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวล กลมกล่อม แต่ความสดใสของเสียงน้อยกว่าทรัมเป็ต คอร์เน็ตถูกนำมาใช้ในวงออร์เคสตร้าครั้งแรกประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่าของ Rossini เรื่อง William Tell ในปัจจุบันคอร์เน็ตเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงโยธวาทิตและแตรวง

 5)ฟลูเกิลฮอร์น (Flugelhorn)เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองเช่นเดียว กับทรัมเป็ต มีลักษณะคล้ายกับแตรบิวเกิลปรกติจะมี 3 ลูกสูบ ท่อลมกลวงเป็นรูปกรวยปลายบานเป็นลำโพงรูปร่างค่อนข้างจะใหญ่กว่าคอร์เน็ต ลักษณะของเสียงจะคล้ายกับฮอร์น แต่มีความห้าวมากกว่าฮอร์น
6)ยูโฟเนียม (Euphonium) ยูโฟเนียม คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองคุณภาพเสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียงต่ำได้ดี บางครั้งนำไปใช้บรรเลงในวงออร์เคสตร้าแทนทูบา คำว่ายูโฟเนียมมาจากภาษา กรีกหมายถึง "เสียงดี"ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไป จะมีลูกสูบ 3-4 สูบ มีกำพวดเป็นรูปถ้วย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพง
7)ทูบา (Tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูล แซ็กฮอร์น ซึ่งอดอล์ฟแซ็ก ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ปี 1845 แตรตระกูลแซกฮอร์น มีหลายขนาดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามขนาด เช่น บาริโทน ยูโฟเนียม การผลิตให้มีหลายขนาดก็เพื่อจะให้มีแตรหลาย ๆ ระดับ เสียงเพื่อใช้ในวงแตรวง และวงโยธวาทิต ส่วนที่ใช้ในวงออร์เคสตร้า ซึ่งมีมาแต่เดิม และนิยมใช้มากที่สุดคือ ทูบา ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9 ,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบบังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน เสียงของทูบาต่ำ ลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า "พีเดิล โทน" (pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทองเหลือ
 
8) ซูซาโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องดนตรีที่ จอร์น ฟิลิป ซูซา (Johe Philip Sousa,1854-1932)ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แทนทูบา เพื่อให้ง่ายแก่การเดินสนาม สุ้มเสียงของซูซาโฟน มีเสียงแบบเดียวกับทูบา ฉะนั้นจึงใช้แทนกันได้ 
ช่วงเสียงของซูซาโฟน




กลุ่มเครื่องลมไม้ (WoodWind Instrument) 

          เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments) ในปัจจุบันมีเครื่องดนตรีหลายเครื่องที่ไม่ได้ทำด้วยไม้ เนื่องจากไม้หายาก จึงใช้วัสดุอย่างอื่นสร้างขึ้นแต่วิธีการเกิดเสียงและคุณภาพเสียง ก็ยังเหมือนกับทำด้วยไม้ทุกประการ เครื่องดนตรีกลุ่มเครื่องลมไม้ ยังแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า(Blowing into a tube) ลำตัวมีลักษณะเป็นท่อ เครื่องเป่าประเภทนี้มีลิ้นอยู่ข้าง และประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้น (Blowing through a reed) เครื่องลมไม้ประเภทขลุ่ย ยังแบ่งตามลักษณะของการเป่าได้ 2 ประเภทคือ ประเภทเป่าตรงปลาย เช่น ขลุ่ยเรคคอร์เดอร์ ประเภทเป่าด้านข้าง เช่น ฟลูท และปิคโคโล

          1) ฟลูท (Flute) เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีการพัฒนา แรกเริ่มมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ คงใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล่องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูทเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง มีความยาว 26? นิ้ว มีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางจนถึง C สูงขึ้นไปอีก 3 ออคเทฟ เสียงแจ่มใส จึงเหมาะสำหรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนอง ใช้เลียนเสียงนกเล็ก ๆ ได้ดี และเสียงต่ำของฟลูทตจะให้เสียงที่นุ่มนวล
2) ปิคโคโล (Piccolo) เป็นขลุ่ยขนาดเล็ก มีลักษณะเช่นเดียวกับฟลูท แต่เล็กกว่า ทำมาจากไม้ หรือ อีบอร์ไนท์ (Ebonicte) แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ ยาวประมาณ 12 นิ้ว เสียงเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะเป่าเพียงเครื่องเดียว ปิคโคโล เล่นได้ดีเป็นพิเศษ เกี่ยวกับเสียงรัว (Trillo) และการเดี่ยว (Solo) ในขณะที่วงโยธวาทิตบรรเลงทั้งวง ก็จะได้ยินเสียงของปิคโคโลได้ชัดเจน
 เครื่องลมไม้อีกประเภทหนึ่งคือ ประเภทปี่ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ มีลิ้น (Reed) เป็นตัวสั่นสะเทือน ส่วนที่เป็นลิ้นจะอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของปี่ เมื่อเป่าลมผ่านลิ้นให้สั้นแล้วลมก็จะเข้าไปในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียง หรือตัวกำธร แล้วออกไปยังปากลำโพง เครื่องดนตรีพวกปี่ ยังจำแนกออกได้ตามลักษณะของลิ้นที่ใช้เป็นประเภทลิ้นคู่ (Double reed) และลิ้นเดี่ยว(Single reed)

ประเภทลิ้นคู่ (Double reed) 


          1) โอโบ (Oboe) เป็นปี่ลิ้นคู่ที่เก่าแก่ที่สุดชาวอียิปต์โบราณ ได้เคยใช้ปี่ที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกับปี่โอโบ เมื่อประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว ก่อนคริสต์กาล ชาวกรีกและชาวโรมันโบราณ มีปี่ลิ้นคู่ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ออโรส" (Aulos) โอโบลำตัวยาวประมาณ 25.5 นิ้ว เป็นรูปทรงกรวย ทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์ ส่วนลิ้นคู่นั้นทำจากไม้ที่ลำต้นมีข้อและปล้อง จำพวก กก หรือ อ้อ ที่ขึ้นในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ลิ้นของปี่โอโบ ได้รับการผลิตอย่างปราณีตมาแล้วจากโรงงานผู้เล่นส่วนมากนิยมนำมาตกแต่งเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับริมฝีปากของตนเอง
โอโบเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากมาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโอโบต้องใช้ลมเป่ามาก แต่ความจริงหาแล้วแม้แต่เด็กผู้หญิงก็สามารถเป่าได้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญอยู่ตรงที่ลิ้นคู่หรือลิ้นแฝด ผู้เล่นต้องสามารถเม้มริมฝีปาก และเป่าลมแทรกลงไประหว่างลิ้นคู่ทั้งสองที่บอบบาง เข้าไปในท่อลม เทคนิคการควบคุมลมให้สม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นมากจึงต้องฝึกฝนกันเป็นเวลานาน
ช่วงเสียงของโอโบกว้างประมาณ 2 ออคเทฟครึ่ง เริ่มตั้งแต่ B flat ต่ำถัดจาก C กลาง สำเนียงของโอโบ ไม่สง่าผ่าเผยเหมือนฟลูท มีลักษณะแบน ๆ คล้ายเสียงออกจมูก เหมาะสำหรับทำนอง เศร้า ๆ บรรยากาศของธรรมชาติและลักษณะของดินแดนทางตะวันออก หน้าที่ที่สำคัญของโอโบอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นเครื่องเทียบเสียงของวงออร์เคสตรา (A tuning fork for the orchestra) ก่อนการบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ จะต้องเทียบเสียง "ลา" (A)
 2)คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) ปราชญ์ทางดนตรีได้สันนิษฐานว่า โดยที่ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่า ส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้น) กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า "อองเกล (Angle)" ขึ้นต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า "คอร์" (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn) ปี่ชนิดนี้นอกจากมีชื่อประหลาดแล้ว ยังมีรูปร่างที่น่าทึ่งอีกด้วย คือ ส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็นท่อลมโลหะงอโค้งติดกับลำตัวปี่ ซึ่งปี่โอโบไม่มี ตรงปลายสุดที่เป็นปากลำโพง (Bell) ป่องเป็นกระเปาะกลม ๆ ซึ่งปี่โอโบมีลำโพงคล้ายปี่คลาริเนต คอร์แองเกลส์เป็นปี่ตระกลูเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบ ระดับเสียงต่ำกว่าโอโบ และเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อ พยุงน้ำหนักของปี
3)บาสซูน (Bassoon) เป็นปี่ขนาดใหญ่ ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบ รูปร่างของบาสซูน ค่อนข้างจะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ ได้รับฉายาว่าเป็น "ตัวตลกของวงออร์เคลตร้า" (The Clow of the Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (Staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด…คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลก ที่มีอากัปกริยากระโดดเต็นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์ เนื่องจากความใหญ่โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลิ่มให้เหลือความยาวประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักเรียกว่า Sling เพื่อให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกด แป้นนิ้วต่าง ๆ ได้สะดวก เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของกลุ่มเครื่องลมไม้ นอกนั้นยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างงดงามอีกด้วย
ช่วงเสียงของบาสซูน


เครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นเดียว (Single Reed)
          1)คลาริเนต (Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดาเครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนต เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรี เกือบทุกประเภทและเป็นเครื่องมือที่สำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส ปี่คลาริเนต ทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์ เช่นเดียวกับปี่โอโบ มีรูปร่างคล้ายโอโบมาก ความแตกต่างอยู่ที่ลิ้นเดียว คลาริเนตยาวกว่าโอโบเล็กน้อย รูปทรงของท่อลมเป็นทรงกระบอก ปากลำโพงบานเป็นทรงระฆัง ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 26 นิ้ว คลาริเนต มีเสียงกว้างที่สุดในบรรดาเครื่องลมไม้
          ปี่ชนิดนี้แตกต่างกับขลุ่ยฟลูทในเรื่องคุณสมบัติของเสียง เสียงของฟลูทจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าใด แต่เสียงของคลาริเนตแตกต่างกันมากจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คลานิเน็ตให้เสียงสูงสดใส่ ร่าเริง คม ชัดเจน มีความคล่องตัวในการบรรเลงสูง เวลาเป่าผู้เป่าจะเม้มริมฝีปากให้ลิ้นของปี่แตะอยู่บนริมฝีปากล่าง ส่วนริมฝีปากบนผู้เป่าจะทำให้เกิดคุณสมบัติของเสียงตลอดจนความดังหรือเบาให้แตกต่างกัน โดยการให้ลิ้นของปี่เข้าไปอยู่ในปากมากหรือน้อยและการเม้มริมฝีปากล่างกดกับลิ้นปี่ หนัก - เบา เพียงใด ในวงโยธวาทิตถือเป็นเครื่องที่สำคัญและได้รับสมญาว่าเป็นไวโอลิน ของวงโยธวาทิต ปี่คลาริเนตมีหลายขนาด แต่ที่นิยมใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันมี Bb คลาริเนต และ Eb คลาริเนต
2)เบส คลาริเนต (Bass Clarinet) เป็นปี่คลาริเนตขนาดใหญ่มีช่วงเสียงต่ำกว่า คลาริเนตธรรมดา 1 ออคเทฟ ลำตัวยาวกว่าคลาริเนต ส่วนปากลำโพงทำด้วยโลหะและงอนขึ้นส่วนที่เป่างอโค้งทำมุมกับตัวปี่ การประดิษฐ์เบส คลาริเนตขึ้นมีความมุ่งหมายเพื่อให้มีเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลคลาริเนตครบ
3)แซกโซโฟน (Saxophone) มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องลมไม้ มีอายุน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ประดิษฐ์เมื่อ ค.ศ. 1840 ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส อดอล์ฟ แซกเป็นผู้ผลิต เขาผลิตแซกโซโฟนอย่างไรนั้น เรื่องมีอยู่ว่า ก่อน ค.ศ. 1840 เล็กน้อย ได้มีหัวหน้าวงโยธวาทิตมาจ้างให้เขา ผลิตเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ ซึ่งสามารถเล่นเสียงให้ดัง เพื่อใช้ในวงโยธวาทิต (Military Band) และต้องการให้เครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้เป็นเครื่องลมไม้ เขาจึงนำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งล้าสมัยแล้ว เรียกว่าแตร ออพิคเลียด (Ophiclede) มาถอดที่เป่าอันเดิมออก แล้วเอาที่เป่าของคลาริเนต มาใส่แทน จากนั้นเขาได้แก้กลไกของกระเดื่องต่าง ๆ และปรับปรุงจนสามารถใช้งานได้ แซกโซโฟนจึงได้กำเนิดขึ้นมาเป็นชิ้นแรกของโลก
ในอดีตแซกโซโฟนมีฉายาว่าคลาริเนตทองเหลือง เพราะสามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่วปราดเปรียวเหมือนคลาริเนต ในปัจจุบันแซกโซโฟนได้รับความนิยมสูงสุด ดังจะเห็นได้จากศิลปินต่างประเทศได้นำมาแสดงในเมืองไทยหลายครั้ง และมีการจัดอันดับผู้ที่มีความสามารถในการเล่นแซกโซโฟนของโลกด้วย เช่น Kenny G, Grover Washington,Jr. ,Sadao watanabe, เป็นต้น
          ในวงออร์เคสตรา ไม่นิยมใช้แซกโซโฟน เพราะบทบรรเลงที่ใช้สำหรับวงออร์เคสตราส่วนใหญ่ เกิดก่อนแซกโซโฟน แต่ปัจจุบันแซกโซโฟนเป็นเครื่องเป่าที่มีบทบาทมากทั้งในวงโยธวาทิต วงแจ๊ส วงคอมโบ ตลอดจนวงดนตรีสมัยใหม่ แซกโซโฟนที่นิยมใช้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวงออร์เคสตราหรือแซกโซโฟนควอเต็ต (Quartet) มี 4 ขนาด คือ บีแฟล็ต โซปราโน, อีแฟล็ต อัลโต, บีแฟล็ต เทเนอร์, และอีแฟล็ตบาริโทน
�������





กลุ่มเครื่องกระทบหรือเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion Instruments) 


เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงดังขึ้นจากการตีกระทบ 

การสั่น การเขย่า หรือ การเคาะ การตีอาจใช้ไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิด

เสียง เครื่องตีกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือ แผ่นหนังขึงตึง

เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องตีกระทบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 



4.1 เครื่องดนตรีมีระดับเสียงแน่นอน เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำ เหมือนกับ

เครื่องดนตรีประเภทอื่นเกิดเสียงโดยการตีกระทบ ได้แก่ 

1)ระฆังราว (Tubular Bells) ในภาษาอังกฤษเรียกระฆังราวว่า “Orchestral Bells” 

และ “Chimes” เครื่องดนตรีชนิดนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเลียนเสียงระฆังจริง ๆ ทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียง

ตามลำดับเสียงต่ำไปยังเสียงสูงท่อโลหะที่มีขนาดสั้นจะเป็นเสียงสูงส่วนท่อยาวจะเป็นเสียงต่ำ แขวนกับ

โครงโลหะในแนวดิ่ง ใช้ไม้ตีที่ปลายท่อด้านหัวจะเกิดเป็นเสียงเหมือนเสียงระฆัง

2)ไซโลโฟน (Xylophone) คือเครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอน เป็นระนาดไม้
ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตกลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไวบราโฟนลูกระนาดทำด้วยไม้เนื้อแข็ง 
จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกนใต้ลูกระนาด
มีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียงประกอบด้วย 2 ขนาด






เครื่องดนตรีมีระดับเสียงไม่แน่นอน
เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงแน่นอน
หน้าที่สำคัญก็คือใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะเกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด
ประกอบด้วย


1) ฉาบ (Cymbals) ฉาบคือเครื่องตีกระทบ มีหลายลักษณะบางชนิดใช้ตีเป็นคู่ให้
เกิดเสียงผู้ตีต้องสอดมือเข้าไปที่หูร้อยฉาบซึ่งทำด้วยสายหนังแบฝ่ามือประกบแนบกับฝาฉาบตรงส่วน
นูนกลางฉาบ แล้วตีกระทบฝาฉาบด้วยมือทั้งสองข้าง ฉาบบางชนิดใช้เพียงข้างเดียว ตีด้วยไม้ตี ฉาบ
ประเภทนี้ต้องติดตั้งบนขาตั้งเช่นฉาบสำหรับกลองชุด ฉาบมีหลายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากก็จะทำ
ให้เกิดเสียงดัง และความก้องกังวานมากขึ้นด้วย





2)คาบาซา (Cabaza) คือเครื่องกระทบจังหวะเดิมทำด้วยผลน้ำเต้าหรือ
ผลบวบแห้งภายนอกกรอบ ๆ ท่อหุ้มด้วยลูกประคำร้อยเชือกมีด้ามถือหรือไม่
มีก็ได้เกิดเสียงโดยการหมุน สั่น เขย่า ถู เพื่อให้ลูกประคำเคลื่อนที่เสียด
สีกับผิวของผลน้ำเต้าหรือผลบวบทำให้เกิดเสียงดังขึ้นเสียงของคาบาซา
ฟังคล้ายกับเสียงของมาราคัสปัจจุบันคาบาซาทำด้วยไม้ประกอบโลหะ
เป็นทรงกระบอกมีด้ามจับถือ ผิวของทรงกระบอกห่อหุ้มด้วยแผ่นโลหะ 
ทำผิวให้ขรุขระลูกประคำทำด้วยโลหะร้อยติดกันล้อมรอบผิวโลหะ
3) กลองใหญ่ (Bass drum) คือเครื่องตีกระทบ มี 2 หน้าขึงด้วยหนังกลอง กลองใหญ่ที่ใช้ในวงออร์เคสตราจะ
มีขนาดใหญ่กว่า 32 นิ้ว ถ้าใช้ในวงโยธวาทิตจะมีขนาดตั้งแต่ 24-32 นิ้ว ตีด้วยไม้ตี ปลายไม้ข้างหนึ่งทำเป็นปมไว้สำหรับใช้
ตีกระทบกับหนังกลอง ปมนั้นอาจจะหุ้มด้วยสักหลาด ไม้ก็อก ผ้านวม หรือฟองน้ำ เสียงกลองใหญ่ตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้
เกิดความหนักแน่น หรืออาจจะใช้รัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น รัวเพื่อสร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้




4)กลองชุด (Drum set) กลองชุด คือกลองที่ประกอบด้วยกลองใหญ่ กลองสะแนร์ ฉาบ 1 
หรือ 2 ใบ กลองทอม 2 หรือ 3 ลูก ไฮแฮท 1คู่ พร้อมทั้งยังเพิ่มเครื่องกระทบจังหวะอื่น ๆ ประกอบเข้าด้วยกันเป็นพิเศษอีก 
เช่นคาวเบลส์ เป็นต้น



5)คองก้า (Conga) คองก้าคือชื่อกลองชนิดหนึ่งมีรูปทรงต่าง ๆ กัน โดยปกติมีความสูง
ประมาณ 30 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 11 นิ้ว ตัวกลองทำด้วยไม้อาจใช้ท่อนไม้นำมาขุดให้กลวง
หรือใช้แผ่นไม้ตัดให้เป็นรูปทรงตัวกลองคาดแผ่นโลหะไว้รอบตัวกลองติดยึดด้วยหมุดโลหะ คองก้าเป็น
กลองหน้าเดียว ขึงด้วยหนังสัตว์กลองคองก้ามีหลายขนาด ต่างระดับเสียงกัน จะใช้ 3-5 ใบ หรือมากกว่านั้นก็ได้ ปกติใช้ 
อย่างต่ำ 2 ใบตีสอดสลับกันตามลีลาจังหวะของบทเพลง ตีด้วยปลายนิ้วและฝ่ามือเช่นเดียวกับการตีกลองบองโก




6) กลองบองโก (Bongos) กลองบองโกเป็นกลองคู่ต้องมี 2 ลูกเสมอ เล็ก 1 ลูก ใหญ่ 1 
ลูก ระดับเสียงของกลอง 2 ลูกตั้งให้ห่างกันในระยะคู่ 4 หรือคู่ 5 โดยประมาณ หนังกลองบองโกตั้งตึง
กว่ากลองคองก้า กลองบองโกทั้งสองลูกติดตั้งกับอุปกรณ์ยึดติดให้อยู่คู่กัน ขณะที่ตีกลองผู้ตีต้องหนีบ
กลองทั้ง 2 ใบ ให้อยู่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้างด้วยหัวเข่าหรือวางตั้งไว้บนขาตั้งโลหะก็ได้
กลองบองโกจะต้องตีด้วยปลายนิ้วมือและฝ่ามือเช่นเดียวกับกลองคองก้า


7)แทมบูรีน(Tambourine)เป็นเครื่องตีกระทบจังหวะประกอบขึ้นด้วยขอบกลมเหมือน
ขอบกลองขนาดเล็กประมาณ 10 นิ้ว ขอบอาจจะทำด้วยไม้ พลาสติก หรือโลหะ รอบ ๆ ขอบติดด้วย
แผ่นโลหะประกบกัน 2 แผ่นหรือติดด้วยลูกกะพรวนเป็นระยะใช้ตีกระทบกับฝ่ามือ หรือสั่นเขย่าให้เกิด
เสียงดังกรุ๋งกริ๋งเพื่อประกอบจังหวะ แทมบูรีนบางชนิดขึงด้วยหนัง 1 ด้าน ใช้ฝ่ามือตีที่หนังได้


8)คาวเบลส์ (Cowbells) คาวเบลส์คือเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ พัฒนามาจาก
กระดิ่งผูกคอวัว นำมาทั้งรูปร่างและชื่อรูปทรงคล้ายกับระฆังมากกว่ากระดิ่ง ตีด้วยไม้กลอง คาวเบลส์
ใช้มากในดนตรีละตินอเมริกา ดนตรีประกอบการเต้นลีลาศหรือเพลงลูกทุ่งของไทย คาวเบลส์ยังใช้เป็น
อุปกรณ์ส่วนหนึ่งของกลองชุดอีกด้วย


9.มาริมบา (Marimba) คือเครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอนเป็นระนาดของดนตรี
ตะวันตก ลักษณะทั่ว ๆ ไปเหมือนกับไซโลโฟนหรือไวปราโฟนเป็นระนาดไม้ขนาดใหญ่ลูกระนาดทำด้วย
ไม้ที่มีชื่อว่า “โรสวู้ด” ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสีย