วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น



ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น

ทฤษฎีดนตรีสากลเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องศึกษาเพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานสู่การปฏิบัติเครื่องดนตรีโน้ตดนตรีสากลและเครื่องหมายต่างๆ คือสัญลักษณ์ที่ให้ปฏิบัติ ดังนั้นทฤษฎีดนตรีสากลจึงควรศึกษาและฝึกเพื่อให้เกิดทักษะ ปฏิบัติจนเกิดความคล่องแคล่วด้วยความเข้าใจ

สาระการเรียนรู้
ทฤษฎีดนตรีสากล

กิจกรรฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
1. อธิบายทฤษฎีดนตรีสากลขันพื้นฐานได้
2. อ่าน เขียน สัญลักษณ์ต่างๆ ของดนตรีสากล และบันทึกโน้ตดนตรีสากลได้


ทฤษฎีดนตรีสากล
1. บรรทัดห้าเส้น (Staff)
บรรทัดห้าเส้น (Staff) ประกอบด้วยเส้นตรงขนานกันจำนวน 5 เส้น และช่องบรรทัดจำนวน 4 ช่อง โดยเส้นบรรทัดมีระยะห่างเท่ากัน การนับเส้นหรือบรรทัดห้าเส้นให้นับตามลำดับจากล่างไปบนโดยนับเส้นหรือช่องล่างสุดเป็น 1 2 3 4 5 ตามลำดับ ในการบันทึกตัวโน้ตและสัญลักษณ์ต่างๆ ทางดนตรีสากลจะบันทึกบนบรรทัดห้าเส้นเป็นหลัก


 2. ตัวโน้ต (Note)
ตัวโน้ต เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกแทนระดับเสียง และความยาวของเสียง ส่วนประกอบสำคัญของตัวโน้ต ได้แก่ ส่วนหัวตัวโน้ต และส่วนหางตัวโน้ต ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะโน้ตต่างๆ

2.1 เมื่อตัวโน้ตอยู่ต่ำกว่าเส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ขึ้น
2.2 เมื่อตัวโน้ตอยู่สูงกว่าเส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ลง
2.3 เมื่อกลุ่มตัวโน้ตอยู่เส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ขึ้นหรือลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลุ่มตัวโน้ต

การรวบรวมหางตัวเขบ็ต
โน้ตตัวเขบ็ตลักษณะเดียวกัน เช่น ตัวเขบ็ต 1 ชั้น หรือตัวเขบ็ต 2 ชั้น สามารถเขียนหางตัวโน้ตรวบรวมเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบง่ายต่อการอ่าน

3. ค่าตัวโน้ต
ค่าตัวโน้ต ลักษณะตัวโน้ตมีหลายลักษณะ ค่าตัวโน้ตลักษณะต่างๆ สามารถเปรียบเทียบค่าความยาวโน้ต และมีชื่อเรียกลักษณะโน้ตต่างๆ ดังนี้

ภูมิเปรียบเทียบค่าตัวโน้ต


แผนภูมเปรียบเทียบค่าตัวโน้ต


ตารางเปรียบเทียบค่านับ


จะเห็นว่าค่าจังหวะนับของโน้ตตัวกลมมากที่สุด ตัวขาว ตัวดำ ตัวเขบ็ต 1 ชั้น ตัวเขบ็ต 2 ชั้นและตัวเขบ็ต 3 ชั้น จะมีค่าลดลงทีละครั้งตามลำดับ เช่น


4. ตัวหยุด (Rest)
ตัวหยุด คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่กำหนดให้เงียบเสียงหรือไม่ให้เล่นในระยะ เวลาตาม
ค่าตัวหยุดนั้นๆ ตัวหยุดมีหลายชนิดสอดคล้องกับตัวโน้ตลักษณะต่างๆ

ตัวหยุดลักษณะต่างๆ ตามค่าตัวโน้ต

5. เส้นน้อย (Leger Lines)
เส้นน้อย คือ เส้นสั้นๆ ที่อยู่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าบรรทัดห้าเส้น มีระยะห่างเท่ากับบรรทัดห้าเส้นโน้ตที่อยู่ต่ำหรือสูงมากๆ จะต้องอาศัยเส้นน้อยตามลำดับ เช่นโน้ตที่คาบเส้นจะเรียงลำดับกับโน้ตที่อยู่ในช่องถ้าหากเส้นน้อยมีมากกว่าสามเส้น ควรใช้วิธีการเปลี่ยนกุญแจประจำหลักหรือใช้เครื่องหมายคู่แปดช่วย เพื่อให้สะดวกต่อการอ่าน
6. กุญแจ (Clef)
กุญแจ คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่บันทึกไว้ที่บรรทัดห้าเส้น เพื่อกำหนดระดับเสียงโน้ตที่อยู่ในช่องและอยู่บนเส้นของบรรทัดห้าเส้น กุญแจที่ใช้ในปัจจุบันมี 3 แบบ ดังนี้

6.1 กุญแจซอล หรือกุญแจ G (G clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตซอล (G) อยู่บรรทัดเส้นที่ 2 กุญแจชนิดนี้นิยมมากในกลุ่มนักดนตรี นักร้อง ใช้กับเครื่องดนตรีที่นิยมทั่วไป เช่น กีตาร์ ไวโอลินทรัมเป็ต ฯลฯ กญแจซอลมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ คือ เทรเบิลเคลฟ (Treble clef)

6.2 กุญแจฟา หรือกุญแจ F (F clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตฟา (F) อยู่บนเส้นที่ 4 กุญแจชนิดนี้นิยมใช้กับเสียงร้องหรือเครื่องดนตรีที่มีเสียงต่ำ เช่น เชลโล เบส ทรอมโบน ฯลฯกุญแจฟามีชื่อเรียกภาษาอังกฤษอีกชื่อคือ เบสเคลฟ (Bass clef)

กุญแจโดเทเนอร์ (Tenor clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับเชลโล และบาสซูน
6.3 กุญแจโด หรือกุญแจ C (C clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้เสียงโด (C) อยู่บนเส้นใดก็ได้ของบรรทัดห้าเส้น ให้เป็นเสียงโดกลาง
กุญแจโดอัลโต
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา
กุญแจโดเทเนอร์
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา


7. การเรียกชื่อตัวโน้ต
การเรียกชื่อตัวโน้ตสากลที่นิยมมี 2 ระบบ ได้เเก่

7.1 ระบบโซฟา (So-Fa system) ใช้เรียกตัวโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ดังนี้ โด (Do) เร (Re) มี (Mi) ฟา (Fa) ซอล (Sol) ลา (La) ที (Ti)

7.2 ระบบตัวอักษร (Latter system) ใช้เรียกชื่อโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง
ดังนี้ A B C D E F G โดยใช้ตัวอักษร A แทนด้วยตัว ลา

การเรียกชื่อโน้ตในกุญแจ
เมื่อใช้กุญแจซอล (G clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้
เมื่อใช้กุญแจฟา (F clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้

8. เส้นกันห้อง (Bar line)
เส้นกันห้อง คือ เส้นตรงแนวตั้งที่ขีดขวางบรรทัดห้าเส้น เพื่อกั้นแบ่งโน้ตในแต่ละห้อง ให้มีจำนวนจังหวะตามที่เครื่องหมายกำหนดจังหวะกำหนดไว้
8.1 ใช้กั้นห้องเพลง
8.2 ใช้กั้นจบตอนหรือจบท่อนเพลง โดยใช้เส้นกันห้องคู่ (Double Bar Line)

9. การเพิ่มค่าตัวโน้ต
การเพิ่มค่าตัวโน้ต และเพิ่มค่าตัวหยุด สามารถทำได้ดังนี้
9.1 การประจุด (Dot) คือ การประจุดที่ด้านขวาตัวโน้ต หรือที่ตัวหยุด จะมีผลให้ค่าโน้ตนั้นๆเพิ่มมากขึ้นครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตนั้น เช่น

   9.2 เครื่องหมายโยงเส้นทาย (Tie) ใช้กับโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกัน จะเพิ่มค่าเท่ากับค่าโน้ตสองตัวรวมกัน โดยจะเล่นที่โน้ตตัวแรก ลากเสียงไปสิ้นสุดที่ตัวสุดท้ายที่เครื่องหมายที่กำหนดไว้ เช่น
                9.3 ใช้สัญลักษณ์เฟอร์มาตา (Fermata) หรือเป็นเส้นโค้งครึ่งวงกลมมีจุดตรงกลาง ใช้บันทึกไว้ที่หัวโน้ต เพื่อเพิ่มค่าตัวโน้ตให้ลากยาวเท่าใดก็ได้ไม่ได้กำหนดไว้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เล่น เช่น
10. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ คือ ตัวเลขสองตัวที่เขียนไว้หลังกุญแจ คล้ายลักษณะเลขเศษส่วนแต่ไม่มีเส้นขีดคั่นกลาง เลขตัวบนจะบอกว่า 1 ห้องเพลงมีกี่จังหวะ ส่วนเลขตัวล่างบอกโน้ตที่ใช้เป็นเกณฑ์ 1 จังหวะ เช่น
            นอกจากนี้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ ยังมีลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งใช้แทนตัวเลขได้ เช่น
11. อัตราจังหวะ
อัตราจังหวะ เป็นเครื่องหมายกำหนดอัตราจังหวะ ที่บอกถึงค่าตัวโน้ต และจำนวนจังหวะในแต่ละห้องเพลง อัตราจังหวะ (Time) เป็นกลุ่มโน้ตที่ถูกจัดแบ่งจังหวะเคาะที่เท่าๆ กันในแต่ละห้องเพลงและทำให้เกิดชีพจรจังหวะ (Pulse) คือ การเน้นจังหวะหนัก-เบา กลุ่มอัตราจังหวะโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะคือ
11.1 อัตราจังหวะสองธรรมดา (Simple duple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 2 จังหวะ เช่น
11.2 อัตราจังหวะสามธรรมดา (Simple triple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 3 จังหวะ เช่น
11.3 อัตราจังหวะสี่ธรรมดา (Simple quadruple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 4 จังหวะ เช่น
เครื่องหมาย  > คือ การเน้นจังหวะที่โน้ตในจังหวะที่ 1 ของแต่ละอัตราจังหวะ


แสดงการเคาะอัตราจังหวะ 1 จังหวะ

พื้นฐานการเคาะ 1 จังหวะ อาจใช้การตบเท้าจากจุดเริ่มต้นตบเท้าลง คือ จังหวะตก แล้วยกเท้าขึ้นจุดเดิม คือ จังหวะยก



************************

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิธีเล่นดนตรีสากล

กลุ่มเครื่องสาย (String Instruments) 
เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงโดยการสั่นสะเทือนของสายลวด เชือก เอ็น หรือไนลอน
และมีตัวกำธรเสียง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังมากขึ้น คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัตถุที่ใช้
ทำ การสั่นสะเทือนของสายอาจทำได้โดยการสี หรือ ดีดโดยอาจกระทำโดยตรง หรือเพิ่มกลไกให้ยุ่ง
ยากขึ้น เครื่องสายที่พบเห็นในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีทำให้เกิดเสียงได้ 2 วิธี คือ วิธีสี และวิธีดีด
1.1 เครื่องสายประเภทใช้คันสี ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย
1)ไวโอลิน (Violin) ไวโอลินคันหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยแผ่นไม้หลายชิ้น แต่ละชิ้นเลือก
มาจากไม้ชนิดต่าง ๆ กันตามความเหมาะสมที่จะนำมาทำเป็นส่วนต่าง ๆ ของซอ ด้านหน้าใช้ไม้พรุช
ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนมีลายละเอียดด้านหลังใช้ไม้เมเปิ้ล
ไวโอลินประกอบด้วยสาย 4 สาย แต่ละสายเทียบเสียงห่างกันคู่ 5 เพอร์เฟค คือ เสียง
G-D-A-E สายต่ำสุดเทียบเสียง G ต่ำถัดจาก Middle C สายทั้งสี่มีความยาวเท่ากัน แต่ระดับเสียง
แตกต่างกันตามขนาดไวโอลินขนาดมาตรฐานจะมีความยาวทั้งสิ้น 23.5 นิ้ว คันชักยาว 29 นิ้ว
ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นท่วงทำนอง (Melodic Instrument) มีเสียงแหลมสดใส
ถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีถ้าต้องการจะเล่นให้เสียงหวาน เศร้า ก็ทำได้ โดยใช้เทคนิคการเล่นแบบต่าง ๆ

2) วิโอลา (Viola) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินทุกประการ แต่มีขนาดใหญ่กว่าไวโอลิน
ประมาณหนึ่งในห้า มีความยาวทั้งสิ้น 26.5 นิ้ว วิโอลาประกอบด้วยสาย 4 สาย ตั้งเสียงต่ำกว่า
ไวโอลินลงไปอีกคู่ 5 เพอร์เฟค คือ C-G-D-A มีเสียงทุ้มและนุ่มนวลกว่าไวโอลิน แต่ไม่มีบทบาทเด่น
เหมือนไวโอลิน
การเล่นเครื่องดนตรีไวโอลินและวิโอลานี้ผู้เล่นจะใช้มือซ้ายจับที่คอของเครื่อง โดยให้คอของ
เครื่องอยู่ในร่องระหว่างหัวแม่มือกับนิ้วชี้ นิ้วทั้งสี่ (ยกเว้นหัวแม่มือ) ทำหน้าที่กดลงบนสายเพื่อเปลี่ยน
ระดับเสียง ด้านท้ายของเครื่องวางบนไหล่ซ้ายของผู้เล่น และผู้เล่นจะใช้คางหนีบกระชับ จับตัวเครื่อง
ด้วยมือซ้ายและใช้มือขวาจับคันชักในการสี
3) เชลโล (Cello) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินและวิโอลา แต่มีขนาดโตกว่ามาก คือความ
ยาวประมาณ 48.5 นิ้ว ขณะเล่นต้องนั่งเก้าอี้ เอาเครื่องไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างหันหน้าเครื่องออก
เทคนิคการเล่นเหมือนกับไวโอลินสายทั้งสี่เสียงต่ำกว่าวิโอลา 1 ช่วงคู่ 8 คือ C-G-D-A เสียงของเชลโล
นุ่มนวล แสดงอารมณ์เศร้าสร้อย
4) ดับเบิลเบส (Double Bass) เป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลไวโอลิน มี
ความยาวประมาณ 74 นิ้ว ผู้บรรเลงต้องยืนเล่น เสียงของดับเบิลเบส ต่ำสุดแสดงถึงความมีอำนาจ
ความกลัว ความลึกลับ สายทั้งสี่ตั้งเสียงห่างกันเป็นคู่ 4 เพอร์เฟค คือ E- A- D- G
1.2 เครื่องสายประเภทเครื่องดีด (Plucked String) ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย
1) ฮาร์พ (Harp) ฮาร์พเป็นพิณโบราณขนาดใหญ่ มีประวัติเก่าแก่มาก ชาวอียิปต์
โบราณใช้ฮาร์พเป็นเครื่องดนตรีสำคัญในราชสำนักของฟาโรห์ ในยุโรปสมัยกลางฮาร์พเป็นเครื่องดนตรี
ที่ได้รับความนิยมจากชาวไอริช และเวลส์ เป็นอย่างมาก

ฮาร์พมีลักษณะเป็นโครงสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ ด้านบนโค้งงอสวยงาม มีสายขึงอยู่ทั้งหมด
47 สาย ช่วงเสียงกว้าง 6 ? Octaves บันไดเสียงพื้นฐานของฮาร์พเป็น Cb Major ที่ฐานของฮาร์พ จะ
มีกระเดื่อง 7 อัน สำหรับเหยียบ (ประจำทั้ง 7 เสียง) ถ้าเหยียบจมลงครั้งหนึ่งสายจะดึงขึ้นทำให้เสียงสูง
ขึ้นครึ่งเสียง ถ้าเหยียบอีกเป็นครั้งที่สองสายจะตึงขึ้นอีกทำให้เสียงสูงขึ้นอีกทำให้ผู้เล่น เล่นเพลงได้ทุก
บันไดเสียงในการบรรเลงฮาร์พผู้เล่นจะต้องนั่งลงให้ไหล่ขวาชิดกับตัวฮาร์พใช้นิ้วมือทั้งสอง ยกเว้นนิ้ว
ก้อยดีดสาย เสียงของฮาร์พเบาและนุ่มนวลกว่าเปียโนมากปัจจุบันฮาร์พใช้บรรเลงในวงดนตรีประเภท
ออร์เคสตราเท่านั้น

2) ลูท (Lute) เป็นพิณชนิดหนึ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเครื่องสายประเภทดีด ลูทมีรูปทรง
เหมือนผลส้มผ่าซีก มีสะพานวางนิ้วที่มีช่องปรากฏอยู่ เช่นเดียวกับกีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน ฯลฯ
ชาวอาหรับโบราณนิยมกันมากแต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้รับความนิยม
3) กีตาร์ (Guitar) กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่แพร่หลายมากในปัจจุบันมีรูปร่างคล้ายคลึงกับ
พิณลูทแต่ผิดกันตรงที่รูปร่างแบนกว่าในปัจจุบันมีความสำคัญทั้งในวงดนตรีประเภทสตริง แจ๊สร็อค
เป็นต้น กีตาร์ประกอบด้วยสาย 6 สาย โดยตั้งระดับเสียงต่ำไปหาสูง ในแต่ละสายดังนี้ E,A,D,G,B,E
ไม่ว่าจะเป็นกีตาร์โปร่งธรรมดา หรือกีตาร์ไฟฟ้า

นอกจากนี้เครื่องสายประเภทดีดยังมีแมนโดลิน แบนโจ ซึ่งเป็นเครื่องสายประเภทดีดที่มีรูป
ร่างคล้ายกีตาร์ แต่มิได้นำมาใช้ในวงดนตรีมากนักส่วนมากใช้ในดนตรีของชาวพื้นเมืองแถบลาติน
อเมริกาอย่างไรก็ตามทั้งแมนโดลิน และแบนโจก็เป็นผลการวิวัฒนาการของลูทนั่นเอง

4) แมนโดลิน (Mandolin) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลลูท มีสาย 4 คู่ (8สาย) หรือ 6 คู่
(12สาย) ตั้งเสียงเท่ากันเป็นคู่ มีลูกบิดคล้ายกีตาร์ใช้ในการตั้งเสียง และมีนม (Feat) รองรับสาย เวลา
เล่นจะใช้นิ้วมือซ้ายจับตัวแมนโดลินและใช้มือขวาดีด ลักษณะการดีดคล้ายการดีดกีตาร์โดยใช้ปิ๊ค
(Pick) เสียงที่เกิดจากแมนโดลินมีความไพเราะเป็นเสียงที่มีคุณภาพ เร้าอารมณ์ได้ดีโดยเฉพาะอารมณ์
โศกเศร้าเกี่ยวกับความรัก แมนโดลินมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอิตาลี เป็นเครื่องดนตรีที่ชาวอิตาเลียนนิยม
กันแพร่หลาย ในปี ค.ศ. 1713 ได้มีผู้นำเอาแมนโดลินมาเล่นผสมในวงคอนเสิร์ตในประเทศอังกฤษ
5) แบนโจ (Banjo) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลลูท จุดเริ่มต้นที่มีผู้นำมาเล่นอยู่ในแถบ
แอฟริกาตะวันตก (Western Africa) เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของพวกนิโกร ต่อมาจึงเป็นที่แพร่หลาย
ในหมู่อเมริกันนิโกร วิธีการเล่นคล้ายกับกีตาร์
2. กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
ในปัจจุบันมีเครื่องดนตรีหลายเครื่องที่ไม่ได้ทำด้วยไม้เนื่องจากไม้หายาก จึงใช้วัสดุอย่างอื่น
สร้างขึ้นแต่วิธีการเกิดเสียงและคุณภาพเสียงก็ยังเหมือนกับทำด้วยไม้ทุกประการเครื่องดนตรีกลุ่มเครื่อง
ลมไม้ยังแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภทคือประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า(Blowing into a tube)
ลำตัวมีลักษณะเป็นท่อเครื่องเป่าประเภทนี้เป่าลมเข้าทางด้านข้าง และประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของ
เครื่องดนตรี (Blowing through a reed)เครื่องลมไม้ประเภทขลุ่ย ยังแบ่งตามลักษณะของการเป่าได้
2 ประเภทคือ ประเภทเป่าตรงปลาย เช่น ขลุ่ยเรคคอร์เดอร์ ประเภทเป่าด้านข้าง เช่น ฟลูต และปิคโคโล
1) ฟลูต (Flute) เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากมนุษย์ก่อน
ประวัติศาสตร์ที่คิดใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่า
ให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูตเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง
มีความยาว 26 ?นิ้วมีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางจนถึง C สูงขึ้นไปอีก 3 ออคเทฟ เสียงแจ่มใสจึงเหมาะ
สำหรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนองใช้เลียนเสียงนกเล็ก ๆ ได้ดีและเสียงต่ำของฟลูตจะให้เสียงที่
นุ่มนวล
2) พิคโคโล (Piccolo) เป็นขลุ่ยขนาดเล็กมีลักษณะเช่นเดียวกับฟลูตแต่เล็กกว่าทำมาจาก
ไม้หรืออีบอร์ไนท์ แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ ยาวประมาณ 12 นิ้ว เสียงเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะเป่าเพียง
เครื่องเดียว พิคโคโลเล่นได้ดีเป็นพิเศษโดยเฉพาะการทำเสียงรัว (Trillo) และการบรรเลงเดี่ยว (Solo)
เครื่องลมไม้อีกประเภทหนึ่งคือ ประเภทปี่มีส่วนประกอบที่สำคัญคือมีลิ้น (Reed) เป็นตัวสั่น
สะเทือนส่วนที่เป็นลิ้นจะอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของปี่เมื่อเป่าลมผ่านลิ้นให้เกิดการสั่นสะเทือนแล้วลมก็
จะเข้าไปในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงหรือตัวกำธร แล้วออกไปยังปากลำโพง

นอกจากนี้เครื่องดนตรีพวกปี่ยังจำแนกออกได้ตามลักษณะของลิ้นที่ใช้เป็นประเภทลิ้นคู่
(Double reed) และลิ้นเดี่ยว(Single reed)
.
2.1.1 ประเภทลิ้นคู่ (Double reed)
1) โอโบ (Oboe) เป็นปี่ลิ้นคู่ที่เก่าแก่ที่สุด ชาวอียิปต์โบราณ ได้เคยใช้ปี่ที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงกับปี่โอโบ เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์กาลมาแล้ว ชาวกรีกและชาวโรมันโบราณ
มีปี่ลิ้นคู่ชนิดหนึ่งเรียกว่า “ออโรส” (Aulos) โอโบลำตัวยาวประมาณ 25.5 นิ้ว เป็นรูปทรงกรวย
ทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์ ส่วนลิ้นคู่นั้นทำจากไม้ที่ลำต้นมีข้อและปล้อง จำพวก กก หรือ อ้อ ที่ขึ้นในแถบ
เมดิเตอร์เรเนียนลิ้นของปี่โอโบได้รับการผลิตอย่างปราณีตมาแล้วจากโรงงานผู้เล่นส่วนมากนิยมนำมา
ตกแต่งเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับริมฝีปากของตนเอง

โอโบเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากมาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโอโบต้องใช้ลมเป่ามาก แต่
ความจริงแล้วแม้แต่เด็กผู้หญิงก็สามารถเป่าได้สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญอยู่ตรงที่ลิ้นคู่หรือลิ้นแฝด ผู้เล่น
ต้องสามารถเม้มริมฝีปาก และเป่าลมแทรกลงไประหว่างลิ้นคู่ทั้งสองที่บอบบาง เข้าไปในท่อลม เทคนิค
การควบคุมลมให้สม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นมากจึงต้องฝึกฝนกันเป็นเวลานาน ช่วงเสียงของโอโบกว้าง
ประมาณ 2 ออคเทฟครึ่ง เริ่มตั้งแต่ B flat ต่ำถัดจาก C กลาง สำเนียงของโอโบ ไม่สง่าผ่าเผยเหมือน
ฟลูตมีลักษณะแบน ๆ คล้ายเสียงออกจมูก เหมาะสำหรับทำนองเศร้า ๆ บรรยากาศของธรรมชาติและ
ลักษณะของดินแดนทางตะวันออก หน้าที่ที่สำคัญของโอโบอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นเครื่องเทียบเสียงของวง
ออร์เคสตรา (A tuning fork for the orchestra) ก่อนการบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ จะต้องเทียบเสียง
“ลา” (A)


2)คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้น
เพื่อง่ายต่อการเป่าส่วนที่ต่อจากที่เป่า(ลิ้น)กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า “อองเกล
(Angle)” ขึ้นต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษา
อังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn)
ปี่ชนิดนี้นอกจากมีชื่อประหลาดแล้ว ยังมีรูปร่างที่น่าทึ่งอีกด้วย คือส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็นท่อลม
โลหะโค้งงอติดกับลำตัวปี่ ซึ่งปี่โอโบไม่มี ตรงปลายสุดที่เป็นปากลำโพง (Bell) ป่องเป็นกระเปาะกลม ๆ
ซึ่งปี่โอโบมีลำโพงคล้ายปี่คลาริเนต คอร์ แองเกลส์เป็นปี่ตระกลูเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่าและมี
รูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบระดับเสียงต่ำกว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้อง
คอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่
3)บาสซูน (Bassoon) เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบรูปร่างของบาสซูนค่อนข้าง
จะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ ได้รับฉายาว่าเป็น “ตัวตลกของวงออร์เคสตรา” (The Clown of the
Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (Staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด…
คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลกที่มีอากัปกริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์เนื่องจากความใหญ่
โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลมให้เหลือความยาว
ประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักเรียกว่า Sling เพื่อ
ให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกดแป้นนิ้วต่าง ๆ ได้สะดวก เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของ
กลุ่มเครื่องลมไม้ นอกจากนี้แล้วยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างไพเราะอีกด้วย
4)คอนทราบาสซูนหรือดับเบิลบาสซูน (Contra Bassoon or Double Bassoon)
คอนทราบาสซูน ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยชาวอังกฤษสองคน ชื่อ สโตน และ มอร์ตัน
(Stone & Morton) ต่อมา เฮคเคล (Heckel) ได้ปรับปรุงโดยติดกลไกของแป้นนิ้วต่าง ๆ ให้สมบูรณ์
และนำมาใช้จนถึงทุกวันนี้ คอนทราบาสซูนเป็นปี่ที่ใหญ่กว่าปี่บาสซูน ประมาณเท่าตัวคือมีความยาว
ของท่อลมทั้งหมดถึง 18 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 220 นิ้วพับเป็นสี่ท่อน แต่ละท่อนเชื่อมต่อด้วย Butt และข้อต่อ
รูปตัว U ที่ปลายท่อนสุดท้ายจะต่อกับลำโพงโลหะที่คว่ำลงในแนวดิ่ง แต่คอนทราบาสซูนอีกชนิดหนึ่ง
ลำโพงหงายขึ้นในแนวดิ่ง ให้เสียงต่ำกว่าบาสซูน ลงไปอีก 1 ออคเทฟ เสียงจะนุ่มไม่แข็งกร้าวเหมือน
บาสซูน แต่ถ้าบรรเลงเสียงต่ำอย่างช้า ๆ ในวงออร์เคสตราขณะที่เครื่องดนตรีอื่น ๆ เล่นอย่างเบา ๆ จะ
สร้างภาพพจน์คล้ายมีงูใหญ่เลื้อยออกมาจากที่มืด โอกาสที่ใช้ในการบรรเลงมีไม่มากนักทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่
กับบทเพลงนั้น ๆ
2.1.2 เครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นเดียว (Single Reed) ประกอบด้วย
1)คลาริเนต (Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดา
เครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภทและเป็นเครื่องดนตรีที่
สำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส

ปี่คลาริเนตทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์เช่นเดียวกับปี่โอโบมีรูปร่างคล้ายโอโบมากความแตกต่าง
อยู่ที่มีลิ้นเดียว คลาริเนตยาวกว่าโอโบเล็กน้อย รูปทรงของท่อลมเป็นทรงกระบอก ปากลำโพงบานเป็น
ทรงระฆัง ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 26 นิ้ว คลาริเนตมีเสียงกว้างที่สุดในบรรดาเครื่องลมไม้ ปี่ชนิดนี้
แตกต่างกับฟลูตในเรื่องคุณสมบัติของเสียง เสียงของฟลูตจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ไม่ค่อยแตกต่างกัน
เท่าใด แต่เสียงของคลาริเนตแตกต่างกันมากจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คลาริเนตให้เสียงสูงสดใส่
ร่าเริง คม ชัดเจน มีความคล่องตัวในการบรรเลงสูง เวลาเป่าผู้เป่าจะเม้มริมฝีปากให้ลิ้นของปี่แตะอยู่บน
ริมฝีปากล่าง ส่วนริมฝีปากบนผู้เป่าจะทำให้เกิดคุณสมบัติของเสียงตลอดจนความดังหรือเบาให้
แตกต่างกันโดยการให้ลิ้นของปี่เข้าไปอยู่ในปากมากหรือน้อยและการเม้มริมฝีปากล่างกดกับลิ้นปี่
หนัก – เบา เพียงใด

ในวงโยธวาทิตปี่คลาริเนตถือเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญและได้รับสมญาว่าเป็นไวโอลินของวง
โยธวาทิต ปี่คลาริเนตมีหลายขนาดแต่ที่นิยมใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันมี Bb คลาริเนต และ Eb คลาริเนต

2)เบส คลาริเนต (Bass Clarinet) เป็นปี่คลาริเนตขนาดใหญ่มีช่วงเสียงต่ำกว่า
คลาริเนตธรรมดา 1 ออคเทฟ ลำตัวยาวกว่าคลาริเนต ส่วนปากลำโพงทำด้วยโลหะและงอนขึ้นส่วนที่
เป่างอโค้งทำมุมกับตัวปี่ วัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์เบสคลาริเนตขึ้นเพื่อให้มีเสียงของเครื่องดนตรี
ในตระกูลคลาริเนตครบทุกเสียง
3)แซกโซโฟน (Saxophone) มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องลมไม้
มีอายุน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ประดิษฐ์เมื่อ ค.ศ. 1840 ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส
โดย อดอล์ฟ แซกเป็นผู้ผลิต ซึ่งเขาผลิตแซกโซโฟนขึ้นในราว ค.ศ. 1840 ในขณะนั้นได้มีหัวหน้าวง
โยธวาทิตมาจ้างให้เขาผลิตเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ซึ่งสามารถเล่นเสียงให้ดัง เพื่อใช้ในวงโยธวาทิต
(Military Band) และต้องการให้เครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้เป็นเครื่องลมไม้ เขาจึงนำเอาเครื่องดนตรี
ประเภทเครื่องทองเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งล้าสมัยแล้วเรียกว่าแตรออพิคเลียด (Ophiclede) มาถอดที่เป่าอัน
เดิมออกแล้วเอาที่เป่าของคลาริเนตมาใส่แทนจากนั้นเขาได้แก้กลไกของกระเดื่องต่าง ๆ และปรับปรุงจน
สามารถใช้งานได้ แซกโซโฟนจึงได้กำเนิดขึ้นมาเป็นชิ้นแรกของโลก

ในอดีตแซกโซโฟนมีฉายาว่าคลาริเนตทองเหลือง เพราะสามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว
ปราดเปรียวเหมือนคลาริเนต ในปัจจุบันแซกโซโฟนได้รับความนิยมสูงสุด ดังจะเห็นได้จากศิลปินชาว
ต่างประเทศได้นำมาแสดงในเมืองไทยหลายครั้ง และมีการจัดอันดับผู้ที่มีความสามารถในการเล่น
แซกโซโฟนของโลกด้วย เช่น Kenny G, Grover Washington,Jr., Sadao Watanabe เป็นต้น
ในวงออร์เคสตราไม่นิยมใช้แซกโซโฟน เพราะบทบรรเลงที่ใช้สำหรับวงออร์เคสตราส่วนใหญ่เกิดก่อน
แซกโซโฟน แต่ปัจจุบันแซกโซโฟนเป็นเครื่องเป่าที่มีบทบาทมากทั้งในวงโยธวาทิต วงแจ๊ส วงคอม
โบ ตลอดจนวงดนตรีสมัยใหม่ แซกโซโฟนที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ขนาด คือ บีแฟลตโซปราโน
อีแฟลตอัลโต บีแฟลตเทเนอร์ และอีแฟลตบาริโทน

3.เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองนี้เรียกรวม ๆ ว่ากลุ่มแตร ส่วนประกอบที่สำคัญของ
เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ คือ ท่อลมทำด้วยโลหะขนาดต่าง ๆ กันการเกิดเสียงเกิดจากการเป่าลมให้เกิดการสั่น
สะเทือนที่ริมฝีปากของผู้เล่น ผ่านเข้าไปในปากเป่า (Mouth Piece) การเป่าเครื่องลมทองเหลืองจึงขึ้น
อยู่กับริมฝีปากเป็นสำคัญเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีดังนี้
1) เฟรนช์ฮอร์น (France horn)
ปัจจุบันเรียกว่า “ฮอร์น” ต้นกำเนิดของฮอร์นคือเขาสัตว์ ฮอร์นที่เก่าแก่ที่สุดคือ โชฟาร์ (Shofar) ของชาวฮิบรู ทำด้วยเขาแกะ เฟรนช์ฮอร์นเป็นแตรที่มีช่วงเสียงกว้างถึง 3 ออคเทฟครึ่ง มีท่อยาวประมาณ 12-15 ฟุต แต่นำมาขดเป็นวงโค้งไปมาเพื่อให้สะดวกแก่ผู้เป่าจนเหลือความยาวจากปากเป่าถึงปากลำโพงเพียง 20 นิ้ว เสียงของเฟรนช์ฮอร์น สดใส สง่า จัดว่าเป็นพระเอกในบรรดาเครื่องลมทองเหลือง นักแต่งเพลงหลายคนใช้เสียงของเฟรนซ์ฮอร์นบรรยายความงามของธรรมชาติเช่น ท้องทะเลครามอันกว้างใหญ่ไพศาล และหุบเขาที่มีเสียงสะท้อนก้องกลับไปกลับมา เนื่องจากท่อลมมีขนาดยาวมากการบังคับริมฝีปากในการเป่าจึงเป็นเรื่องยาก
2)ทรอมโบน (Trombone)
เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนาและพิธียุรยาตราร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า – ออกได้ (Telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบ สองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอกเช่นเดียวกับ ทรัมเปตส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนมีเสียงทุ้ม ห้าว ไม่สดใส เหมือนทรัมเปต ปัจจุบันนิยมใช้แพร่หลายในวงดนตรีชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกันทรัมเปตประกอบด้วยเทเนอร์ทรอมโบน (Tenor Trombone)และ เบสทรอมโบน (Bass Trombone)
3)ทรัมเปต (Trumpet) ในสมัยโบราณชาวยุโรปถือว่าแตรทรัมเปตเป็นของคนชั้นสูงผู้
ที่จะมีสิทธิเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ได้ต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูงหรือไม่ก็นักรบชั้นแม่ทัพ
สามัญชนไม่มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของแตรชนิดนี้ ทรัมเปตเป็นแตรที่มีท่อลมรูปทรงกระบอกขนาด
ของท่อลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว โค้งงอทบกันเป็นสามทบ ติดลูกสูบเพื่อใช้บังคับเสียง3 อัน
( 3 valve) อยู่ตรงกลางลำตัว ผู้เป่าจะใช้นิ้วขวาบังคับลูกสูบทั้งสามโดยการกดลงหรือผ่อนให้ขึ้นแนว
ตั้ง กำพวด (Mouthpiece) ของทรัมเปตเป็น “กำพวดรูปถ้วยหรือระฆัง” ซึ่งทำให้แตร ทรัมเปต
สามารถเล่นเสียงสูงได้สดใสแผดกล้าให้ความรู้สึกตื่นเต้นได้ดีแต่ถ้าเล่นเสียงต่ำจะให้ความนุ่มนวล
ลักษณะคล้ายเสียงกระซิบกระซาบได้ดีเช่นเดียวกันบางครั้งผู้เป่าต้องการลดเสียงของแตรให้เบาลงทำให้
เกิดเสียงที่แปลกหูก็สามารถใช้ “มิวท์” (Mute) สวมเข้าไปในปากลำโพงของแตร ในปัจจุบัน ทรัมเปต
เป็นแตรที่แพร่หลายและใช้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภท
4)คอร์เนต (Cornet) คอร์เนตคือเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีลักษณะคล้ายกับทรัมเปต
แต่ลำตัวสั้นกว่าคุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวลกลมกล่อมแต่ความสดใสของเสียงน้อยกว่าทรัมเปต
คอร์เนตถูกนำมาใช้ในวงออร์เคสตราครั้งแรกประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่าของ
Rossini เรื่อง William Tell ในปัจจุบันคอร์เนตเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงโยธวาทิตและแตรวง
5)ฟลูเกิลฮอร์น (Flugelhorn) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองเช่นเดียว
กับทรัมเปต มีลักษณะคล้ายกับแตรบิวเกิลปกติจะมี 3 อัน ท่อลมกลวงเป็นรูปกรวยปลายบานเป็น
ลำโพงรูปร่างค่อนข้างจะใหญ่กว่าคอร์เนต ลักษณะของเสียงจะคล้ายกับฮอร์น แต่มีความห้าวมาก
กว่าฮอร์น
6)ยูโฟเนียม (Euphonium) ยูโฟเนียม คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองคุณ
ภาพเสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียงต่ำได้ดี
บางครั้งนำไปใช้บรรเลงในวงออร์เคสตราแทนทูบ คำว่ายูโฟเนียมมาจากภาษา กรีกหมายถึง “เสียงดี”
ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไปคือมีลูกสูบ 3-4 อัน มีกำพวดเป็นรูป
ถ้วย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพง
7)ทูบา (Tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลแซกฮอร์น ซึ่งอดอล์ฟ แซก ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ
ปี 1845 แตรตระกูลแซกฮอร์น มีหลายขนาดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามขนาด เช่น บาริโทน ยูโฟเนียม
การผลิตให้มีหลายขนาดก็เพื่อจะให้มีแตรหลาย ๆ ระดับ เสียงเพื่อใช้ในวงแตรวง และวงโยธวาทิต ส่วน
ที่ใช้ในวงออร์เคสตรา ซึ่งมีมาแต่เดิม และนิยมใช้มากที่สุดคือ ทูบา

ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9 ,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด
มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบ
บังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน เสียงของทูบาต่ำลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า “เพดัล โทน”
(Pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทอง
เหลือง

8) ซูซาโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องดนตรีที่ จอร์น ฟิลิป ซูซา (Johe Philip
Sousa,1854-1932)ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แทนทูบา เพื่อให้ง่ายแก่การเดินสนาม สุ้มเสียงของซูซาโฟน มี
เสียงแบบเดียวกับทูบา ฉะนั้นจึงใช้แทนกันได้
4. กลุ่มเครื่องคีย์บอร์ด (Keyboard Instruments)

เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า“เครื่องดนตรีประเภท
คีย์บอร์ด” ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็คือมีลิ่มนิ้วสำหรับกดเพื่อปรับเปลี่ยนระดับเสียง
ดนตรี ลิ่มนิ้วสำหรับกดเรียกว่า “คีย์ (Key)” เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากันโดยปกติสี
ของคีย์เป็นสีขาวกับดำ คีย์สีดำโผล่สูงขึ้นมามากกว่าคีย์สีขาว

การเกิดเสียงของเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีหลายลักษณะเช่นเปียโน ฮาร์ปสิคอร์ด คลาวิคอร์ด
เกิดเสียงโดยการกดคีย์ที่ต้องการแล้วคีย์นั้นจะส่งแรงไปที่กลไกต่าง ๆ ภายในเครื่องเพื่อที่จะไปทำให้สาย
โลหะที่ขึงตึงสั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียงดังขึ้น เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดบางชนิดใช้ลมพ่นไปยังลิ้น
โลหะให้สั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียง ในปัจจุบันนิยมใช้น้อยมากเช่น ออร์แกน แอกคอร์เดียน สำหรับ
เมโลเดียนและเมโลดิกาซึ่งนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับอนุบาลจนถึงระดับ
ประถมศึกษานั้นก็จัดอยู่ในเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดเช่นกัน

ในปัจจุบันนี้เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่เกิดเสียงโดยใช้วงจรอิเล็กโทรนิกส์ ได้รับความ
นิยมมากเพราะสามารถเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ได้หลายชนิด ซึ่งได้พัฒนามาจากออร์แกน
ไฟฟ้านั้นเองมีหลายชื่อแต่ละชื่อมีคุณลักษณะแตกต่างกันไปเช่น เครื่องอิเล็กโทนคือเครื่องดนตรีประเภท
คีย์บอร์ดที่มีจังหวะในตัวสามารถบรรเลงเพลงต่าง ๆ ได้ด้วยนักดนตรีเพียงคนเดียว

ในยุคคอมพิวเตอร์เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดได้วิวัฒนาการไปมากเสียงต่าง ๆ มีมากขึ้น
นอกจากเสียงดนตรีแล้วยังมีเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ ให้เลือกใช้มากเสียงต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงเสียงที่สังเคราะห์
ขึ้นมาด้วยระบบอิเล็กโทรนิกดังนั้นเครื่องดนตรีประเภทนี้จึงถูกเรียกว่า “ซินธิไซเซอร์ (Synthesizer)”

1) เปียโน (Piano) เปียโนเป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดประเภทใช้สายเสียงหรือ
ประเภทลิ่มนิ้วที่มีวิวัฒนาการมาจากฮาร์ปสิคอร์ด (Harpsichord) ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์
ในประเทศอิตาลี ในต้นศตวรรษที่ 18 เดิมมีชื่อเรียกว่าเปียโนฟอร์เตเพราะทำได้ทั้งเสียงเบาและเสียงดัง
สายเสียงจะถูกตีด้วยค้อนเชื่อมโยงไปที่คีย์กดโดยผ่านเครื่องกลไกซับซ้อนที่เรียกว่า แอคชั่น (Action)

เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถเล่นเป็นทำนองเพลงและเป็นเสียงประสานหรือเล่นเป็น
คอร์ดได้ ในขณะที่เล่นผู้เล่นต้องใช้มือ 2 ข้างเล่นพร้อมกัน เปียโนเหมาะสำหรับเป็นเครื่องดนตรีประจำ
บ้าน สามารถบังคับให้เสียงดังหรือเบาได้โดยการเหยียบเพดัล (Pedal) ด้านล่างของเครื่อง เปียโนมี
เพดัล 3 แบบ คือ
1. เพดัลประเภทให้เสียงต่อเนื่อง จะอยู่ทางขวาส่วนเท้าเหยียบของผู้เล่น เมื่อเหยียบเพดัล
ลงไปจะทำให้เสียงทุกเสียงที่กดยาวต่อเนื่องกันไป
2. เพดัลประเภทเดี่ยวอยู่ตรงกลางระหว่างเท้าเหยียบของผู้เล่นเมื่อเหยียบเพดัลลงทำให้
เสียงยาวต่อเนื่องหรือลากยาวได้เสียงเดียวหรือคอร์ดเดียว
3. เพดัลแบบอูนาคอร์ดา อยู่ทางซ้ายส่วนเท้าเหยียบของผู้เล่นเมื่อเหยียบเพดัลลงทำเสียง
เบาได้ช่วยลดเสียงหรือทำให้เสียงเบาลง

เปียโนประกอบด้วย 2 ประเภทคือแกรนด์เปียโน (Grand Piano) สายของเปียโนชนิดนี้เรียง
สายในแนวนอน และอัพ – ไรท์เปียโน (Up – right Piano) สายของเปียโนชนิดนี้เรียงสายในแนวตั้ง
เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่มีช่วงเสียงกว้างมากถึง 7 ? ออคเทฟ (Octaves) หรือในบางรุ่นอาจมีถึง
8 ออคเทฟ (Octaves) มีลิ่มทั้งหมด 88 ลิ่ม

2) ออร์แกน (Organ) เป็นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดประเภทใช้ลมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดกล่าวกัน
ว่าเป็น “The King of Instruments” เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในโบสถ์ใช้บรรเลงประกอบบทเพลงร้อง
ทางศาสนาที่เรียกว่า “เพลงโบสถ์” (Church Music) จึงมักเรียกออร์แกนที่อยู่ในโบสถ์ว่าเป็น “ออร์แกน
โบสถ์” (Church Organ) เมื่อมีลมเป่าผ่านท่อทำให้เกิดเสียงท่อละหนึ่งเสียงออร์แกนมีแผงคีย์สำหรับ
กดด้วยนิ้วมือและแผงคีย์เหยียบด้วยเท้าแผงคีย์ที่กดเล่นด้วยมือเรียกว่าแมนน่วล (Manual) แผงคีย์ที่
เหยียบด้วยเท้าเรียกว่าเพดัล (Pedal) การบังคับกลุ่มท่อต่าง ๆ ซึ่งจัดไว้เป็นพวกเดียวกันทำได้โดยการ
ใช้ปุ่มกดหรือคันยกขึ้นลงที่เรียกว่าสต็อป (Stops) ออร์แกนขนาดใหญ่จะมีกลุ่มท่อเปลี่ยนเสียงเรียกว่า
ไพพ์ (Pipes) เป็นจำนวนมากเพื่อใช้สร้างสีสันแห่งเสียงได้หลากหลาย ออร์แกนสมัยใหม่ใช้ไฟฟ้าบังคับ
แทนลมซึ่งตามแบบดั้งเดิมนั้นลมที่ใช้เกิดจากการอัดลมด้วยเท้าของผู้เล่นหรือไม่ก็มีผู้ช่วยอัดลมแทนให้
3)ฮาร์ปสิคอร์ด (Harpsichord)
เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ใช้กันมากในศตวรรษที่ 16,17 และ18 เกิดก่อนเปียโน สายภายในเครื่อง
ดนตรีจะถูกเกี่ยวด้วยไม้ดีด ขณะที่เรากดคีย์ลงไป
ฮาร์ปสิคอร์ดไม่สามารถเล่นให้เกิดเสียงดัง – ค่อย ได้เหมือนเปียโน
4)คลาวิคอร์ด (Clavichord) เป็นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดในยุคแรก ๆ ประเภทเกิดเสียงได้.
จากการดีดโดยมีสายเสียงที่ขึงไปตามส่วนรูปของกล่องไม้ ส่วนปลายสุดของคีย์จะมีกลไกการงัดหรือ
แตะของลิ่มทองเหลืองเล็ก ๆ เมื่อผู้เล่นกดคีย์ลงไปลิ่มทองเหลืองนี้ก็จะยกขึ้นและตีไปที่สายเสียงเพื่อทำ
ให้เกิดเสียง
คลาวิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดประเภทแรกที่สามารถเล่นได้ทั้งเบาและดังโดย
เปลี่ยนแปลงน้ำหนักการกดคีย์ เสียงที่ได้จากคลาวิคอร์ดนี้มีความไพเราะและนุ่มนวล
5) แอกคอร์เดียน (Accordion) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วเช่นเดียวกับเปียโนเสียงของ
แอกคอร์เดียนเกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่องอันเนื่องมาจากการเล่น
ผ่านเข้า – ออกของลมซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้า – ออก

แอกคอร์เดียนมีหลายขนาดเช่นขนาด 25 ลิ่มนิ้ว 12 เบส ขนาด 37 ลิ่มนิ้ว 80 เบส และขนาด
ใหญ่ซึ่งนิยมใช้เล่นโดยทั่วไปจะมี 41 ลิ่มนิ้ว 120 เบส และยังมีปุ่มปรับเสียงเปลี่ยนระดับเสียงติดอยู่ทาง
ด้านขวาอีกหลายปุ่ม ทางด้านซ้ายอาจมีช่องปรับความดัง – ค่อยซึ่งเปิด – ปิด ได้อีก 3-4 ช่อง ปุ่มปรับ
ระดับเสียงจะเป็นปุ่มเสียงต่ำ (Low reed)
แอกคอร์เดียนนิยมใช้กับวงดนตรีขนาดเล็กเช่น วงดนตรีประจำหมู่บ้าน วงดนตรีลูกทุ่ง
วงคอมโบ วงโฟล์คซอง เป็นต้น

4.กลุ่มเครื่องกระทบหรือเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion Instruments)



เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงดังขึ้นจากการตีกระทบ
การสั่น การเขย่า หรือ การเคาะ การตีอาจใช้ไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิด
เสียง เครื่องตีกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือ แผ่นหนังขึงตึง
เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องตีกระทบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
4.1 เครื่องดนตรีมีระดับเสียงแน่นอน เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำ เหมือนกับ
เครื่องดนตรีประเภทอื่นเกิดเสียงโดยการตีกระทบ ได้แก่
1)ระฆังราว (Tubular Bells) ในภาษาอังกฤษเรียกระฆังราวว่า “Orchestral Bells”
และ “Chimes” เครื่องดนตรีชนิดนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเลียนเสียงระฆังจริง ๆ ทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียง
ตามลำดับเสียงต่ำไปยังเสียงสูงท่อโลหะที่มีขนาดสั้นจะเป็นเสียงสูงส่วนท่อยาวจะเป็นเสียงต่ำ แขวนกับ
โครงโลหะในแนวดิ่ง ใช้ไม้ตีที่ปลายท่อด้านหัวจะเกิดเป็นเสียงเหมือนเสียงระฆัง

2)มาริมบา (Marimba) คือเครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอนเป็นระนาดของดนตรี
ตะวันตก ลักษณะทั่ว ๆ ไปเหมือนกับไซโลโฟนหรือไวปราโฟนเป็นระนาดไม้ขนาดใหญ่ลูกระนาดทำด้วย
ไม้ที่มีชื่อว่า “โรสวู้ด” ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง
3)ไซโลโฟน (Xylophone) คือเครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอน เป็นระนาดไม้
ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตกลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไวบราโฟนลูกระนาดทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกนใต้ลูกระนาด
มีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียงประกอบด้วย 2 ขนาด
4)ไวปราโฟน (Vibraphone) คือเครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอนเป็นระนาด
โลหะของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไซโลโฟนเป็นระนาดขนาดใหญ่ ลูกระนาด
ทำด้วยโลหะใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะเพื่อเป็นตัวขยายเสียงมีแกนใบพัดเล็ก ๆ ประจำอยู่แต่ละท่อใช้ระบบ
มอเตอร์หมุนใบพัด ทำให้เกิดเอฟเฟค (Sound Ettect) เสียงสั่นรัวได้
4.2 เครื่องดนตรีมีระดับเสียงไม่แน่นอน เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงแน่นอน
หน้าที่สำคัญก็คือใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะเกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด
ประกอบด้วย

1) ฉาบ (Cymbals) ฉาบคือเครื่องตีกระทบ มีหลายลักษณะบางชนิดใช้ตีเป็นคู่ให้
เกิดเสียงผู้ตีต้องสอดมือเข้าไปที่หูร้อยฉาบซึ่งทำด้วยสายหนังแบฝ่ามือประกบแนบกับฝาฉาบตรงส่วน
นูนกลางฉาบ แล้วตีกระทบฝาฉาบด้วยมือทั้งสองข้าง ฉาบบางชนิดใช้เพียงข้างเดียว ตีด้วยไม้ตี ฉาบ
ประเภทนี้ต้องติดตั้งบนขาตั้งเช่นฉาบสำหรับกลองชุด ฉาบมีหลายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากก็จะทำ
ให้เกิดเสียงดัง และความก้องกังวานมากขึ้นด้วย
2)ไทรแองเกิล หรือ กิ่ง (Triangle) คือเครื่องตีกระทบ ทำด้วยแท่งโลหะ ดัดให้เป็น
รูปสามเหลี่ยม แท่งโลหะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. เพื่อให้เสียงดังกังวานต้องแขวนกิ่งไว้
กับเชือกแล้วตีกระทบด้วยแท่งโลหะ กิ่งมีเสียงแจ่มใสมีชีวิตชีวา
3) มาราคัส (Maracas) คือ เครื่องตีกระทบเดิมทำด้วยผลน้ำเต้าแก่จัดทำให้แห้ง ภายใน
บรรจุด้วยเมล็ดน้ำเต้า เมล็ดถั่วต่าง ๆ ต่อด้ามไว้สำหรับถือเวลาเล่นใช้เขย่าเพื่อให้เกิดเสียงดังซ่า ๆ จะ
เขย่าด้วยมือทั้งสองข้างให้ดังสลับกันในปัจจุบันทำด้วยไม้และมักใช้ประกอบในเพลงประเภทลูกกรุงของ
ไทย หรือเพลงในกลุ่มอเมริกาใต้4)คาบาซา (Cabaza) คือเครื่องกระทบจังหวะเดิมทำด้วยผลน้ำเต้าหรือ
ผลบวบแห้งภายนอกกรอบ ๆ ท่อหุ้มด้วยลูกประคำร้อยเชือกมีด้ามถือหรือไม่
มีก็ได้เกิดเสียงโดยการหมุน สั่น เขย่า ถู เพื่อให้ลูกประคำเคลื่อนที่เสียด
สีกับผิวของผลน้ำเต้าหรือผลบวบทำให้เกิดเสียงดังขึ้นเสียงของคาบาซา
ฟังคล้ายกับเสียงของมาราคัสปัจจุบันคาบาซาทำด้วยไม้ประกอบโลหะ
เป็นทรงกระบอกมีด้ามจับถือ ผิวของทรงกระบอกห่อหุ้มด้วยแผ่นโลหะ
ทำผิวให้ขรุขระลูกประคำทำด้วยโลหะร้อยติดกันล้อมรอบผิวโลหะ
5) กลองใหญ่ (Bass drum) คือเครื่องตีกระทบ มี 2 หน้าขึงด้วยหนังกลอง กลองใหญ่ที่ใช้ในวงออร์เคสตราจะ
มีขนาดใหญ่กว่า 32 นิ้ว ถ้าใช้ในวงโยธวาทิตจะมีขนาดตั้งแต่ 24-32 นิ้ว ตีด้วยไม้ตี ปลายไม้ข้างหนึ่งทำเป็นปมไว้สำหรับใช้
ตีกระทบกับหนังกลอง ปมนั้นอาจจะหุ้มด้วยสักหลาด ไม้ก็อก ผ้านวม หรือฟองน้ำ เสียงกลองใหญ่ตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้
เกิดความหนักแน่น หรืออาจจะใช้รัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น รัวเพื่อสร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้
6)กลองเล็ก (Snare drum) กลองเล็ก คือเครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง
ลักษณะเฉพาะก็คือหน้ากลองด้านล่างขึงคาดไว้ด้วยสายสะแนร์ทำด้วยเอ็นสัตว์ในปัจจุบันสายสะแนร์
มีทั้งที่ทำด้วยไนล่อนและทำด้วยเส้นลวดโลหะ กลองเล็กมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น Snare drum มีขาตั้งรองรับ
ตัวกลองใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลองชุดหรือนำมาใช้บรรเลงประกอบจังหวะสำหรับวงออร์เคสตราหรือวงดนตรี
อื่น ๆ ที่นั่งบรรเลง สำหรับวงโยธวาทิตและแตรวงมีตัวยึดกลองทำด้วยโลหะคล้องยึดไว้กับลำตัวของผู้ตีกลอง
จะอยู่ด้านหน้าของผู้ตี
7)กลองทิมปานี (Timpani) กลองทิมปานีเป็นกลองที่มีลักษณะเหมือนกะทะหรือกาต้ม
น้ำจึงมีชื่อหนึ่งว่า Kettle drum ตัวกลองทำด้วยโลหะทองแดงตั้งอยู่บนขาหยั่ง กลองทิมปานีมีระดับ
เสียงแน่นอนเทียบเท่ากับเสียงเบส มีเท้าเหยียบเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงตามที่ต้องการ ในการบรรเลง
ต้องใช้อย่างน้อย 2 ใบ จึงมีรูปพหูพจน์อยู่เสมอคือ “Timpani” ถ้าเป็นเอกพจน์หรือกลองลูกเดียวเรียก
ว่า “Timpano” เสียงของกลองทิมปานีแสดงอำนาจความยิ่งใหญ่ตื่นเต้นเร้าใจ

กลองทิมปานีเป็นกลองที่มีระดับเสียงที่นิยมมี 4 ขนาด คือ 20 นิ้ว 23 นิ้ว 26 นิ้วและ29นิ้ว
กลองแต่ละใบจะมีช่วงห่างของเสียงอยู่ราวคู่ 5 เพอร์เฟค (Perfect) และถ้าต้องการจะให้มีเสียงที่ดีควร
จัดให้เสียงอยู่ช่วงกลาง เสียงของกลองแต่ละใบมีช่วงกว้างของเสียงดังนี้คือ

8)กลองชุด (Drum set) กลองชุด คือกลองที่ประกอบด้วยกลองใหญ่ กลองสะแนร์ ฉาบ 1
หรือ 2 ใบ กลองทอม 2 หรือ 3 ลูก ไฮแฮท 1คู่ พร้อมทั้งยังเพิ่มเครื่องกระทบจังหวะอื่น ๆ ประกอบเข้า
ด้วยกันเป็นพิเศษอีก เช่น คาวเบลส์ เป็นต้น
9)คองก้า (Conga) คองก้าคือชื่อกลองชนิดหนึ่งมีรูปทรงต่าง ๆ กัน โดยปกติมีความสูง
ประมาณ 30 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 11 นิ้ว ตัวกลองทำด้วยไม้อาจใช้ท่อนไม้นำมาขุดให้กลวง
หรือใช้แผ่นไม้ตัดให้เป็นรูปทรงตัวกลองคาดแผ่นโลหะไว้รอบตัวกลองติดยึดด้วยหมุดโลหะ คองก้าเป็น
กลองหน้าเดียว ขึงด้วยหนังสัตว์

กลองคองก้ามีหลายขนาด ต่างระดับเสียงกัน จะใช้ 3-5 ใบ หรือมากกว่านั้นก็ได้ ปกติใช้
อย่างต่ำ 2 ใบตีสอดสลับกันตามลีลาจังหวะของบทเพลง ตีด้วยปลายนิ้วและฝ่ามือเช่นเดียวกับการตี
กลองบองโก

10) กลองบองโก (Bongos) กลองบองโกเป็นกลองคู่ต้องมี 2 ลูกเสมอ เล็ก 1 ลูก ใหญ่ 1
ลูก ระดับเสียงของกลอง 2 ลูกตั้งให้ห่างกันในระยะคู่ 4 หรือคู่ 5 โดยประมาณ หนังกลองบองโกตั้งตึง
กว่ากลองคองก้า กลองบองโกทั้งสองลูกติดตั้งกับอุปกรณ์ยึดติดให้อยู่คู่กัน ขณะที่ตีกลองผู้ตีต้องหนีบ
กลองทั้ง 2 ใบ ให้อยู่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้างด้วยหัวเข่าหรือวางตั้งไว้บนขาตั้งโลหะก็ได้
กลองบองโกจะต้องตีด้วยปลายนิ้วมือและฝ่ามือเช่นเดียวกับกลองคองก้า
11)แทมบูรีน(Tambourine)เป็นเครื่องตีกระทบจังหวะประกอบขึ้นด้วยขอบกลมเหมือน
ขอบกลองขนาดเล็กประมาณ 10 นิ้ว ขอบอาจจะทำด้วยไม้ พลาสติก หรือโลหะ รอบ ๆ ขอบติดด้วย
แผ่นโลหะประกบกัน 2 แผ่นหรือติดด้วยลูกกะพรวนเป็นระยะใช้ตีกระทบกับฝ่ามือ หรือสั่นเขย่าให้เกิด
เสียงดังกรุ๋งกริ๋งเพื่อประกอบจังหวะ แทมบูรีนบางชนิดขึงด้วยหนัง 1 ด้าน ใช้ฝ่ามือตีที่หนังได้
12)คาวเบลส์ (Cowbells) คาวเบลส์คือเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ พัฒนามาจาก
กระดิ่งผูกคอวัว นำมาทั้งรูปร่างและชื่อรูปทรงคล้ายกับระฆังมากกว่ากระดิ่ง ตีด้วยไม้กลอง คาวเบลส์
ใช้มากในดนตรีละตินอเมริกา ดนตรีประกอบการเต้นลีลาศหรือเพลงลูกทุ่งของไทย คาวเบลส์ยังใช้เป็น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แนะนำการเล่นดนตรีสากล
 ดนตรีเป็นเรื่องของ “เสียง” ที่เราได้ยินกันเป็นประจำผ่านทางสื่อประเภทต่างๆ ดนตรีในปัจจุบันมีหลากหลายประเภท ป็อบ ร็อค แร็พ แจ๊ส ลูกทุ่ง หมอลำ เพลงคลาสสิค เพลงไทยเดิม ฯลฯ ซึ่งเปรียบเสมือนอาหารนานาชนิดที่มีรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ที่เรากินกันอยู่ทุกวัน
     
      ดังนั้นสิ่งที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ก็คือ ดนตรีเป็นสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กแล้วนั้น “ดนตรีกับเด็ก” นับว่าเป็นสิ่งที่ผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง เพราะดนตรีเป็นสื่อที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กโดยตรงและสร้างความสุขให้เด็กได้อย่างง่ายๆ และที่สำคัญดนตรีเป็นเหมือนทางลัดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาใช้ในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็กได้เป็นอย่างดี

ดนตรีดีต่อเด็กอย่างไร?

1. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย

      เราจะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อเด็กได้ยินเสียงดนตรีที่มีทำนองและจังหวะที่สนุก เด็กก็จะกระโดดโลดเต้น เคลื่อนไหวร่างกาย ตามเสียงดนตรีอย่างมีความสุขสนุกสนาน ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กๆมีร่างกายแข็งแรงเพราะได้บริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนร่างกาย  เช่น แขน ขา นิ้วมือ คอ ไหล่

2. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจ

      อารมณ์ความรู้สึกของคน มีขึ้นมีลงคล้ายท่วงทำนองของเสียงดนตรี ดนตรีที่มีจังหวะช้าจะทำให้เด็กมีอารมณ์ผ่อนคลาย สงบ มีสมาธิ และช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยน ในขณะที่ดนตรีที่มีจังหวะเร็ว จะทำให้เด็กๆมีอารมณ์แจ่มใส และมีจิตใจที่เบิกบาน

3. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสังคม

    - กิจกรรมดนตรีแบบกลุ่ม คือการที่เด็กๆได้ทำกิจกรรมดนตรีร่วมกับผู้อื่น เช่น การร้องเพลง เต้นระบำ รำละคร หรือ       การตั้งวงดนตรี เล่นกับคุณพ่อคุณแม่พี่ๆน้องๆในบ้านหรือกับเพื่อนๆที่โรงเรียน เป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กๆได้           รู้จักการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
    - กิจกรรมดนตรีแบบเดี่ยว เช่น การเล่นดนตรี การร้องเพลง หรือการเต้นระบำรำฟ้อนคนเดียวต่อหน้าคนอื่น ช่วย          พัฒนาบุคลิกภาพและสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้แสดงความสามารถ          ให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) และตระหนักถึงคุณค่า         ของตัวเอง (Ego Asset)

4. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญา
    - ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่นเมื่อเด็กได้ฟังหรือร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของจำนวน และ         การนับ หรือการที่เด็กได้หัดอ่านโน้ตดนตรี
    - ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่นเมื่อเด็กได้ร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติจากเนื้อเพลงที่         เกี่ยวกับสัตว์ ต้นไม้ รุ้งกินน้ำ พระจันทร์ ดวงดาว
    - ดนตรีช่วยพัฒนาทักษะทางด้านภาษา เช่น เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศผ่านทาง       เนื้อเพลง
    - ดนตรีช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เช่นเมื่อเด็กๆฟังเพลงแล้วคิดท่าเต้นแบบต่างๆได้ด้วยตนเอง หรือแปลงกาย       เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ การที่เด็กได้คิดค้นวิธีเล่นเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ หรือการที่เด็กแต่งเนื้อเพลงหรือทำนองเพลง         ด้วยตัวของเขาเอง
     
         ดนตรีเหมือนขนมของหนูๆที่กินแล้วทั้งสนุก แถมได้รสชาติที่แสนอร่อย และยังเป็นขนมที่มีความพิเศษคือมีประโยชน์แก่ร่างกาย อารมณ์  และจิตใจ สังคมและสติปัญญาของหนูๆอีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่อย่ารอช้า ไปเลือกหาดนตรีขนมอร่อยจานนี้ให้กับพวกเขากันดีกว่า เอ๊ะหรือว่าจะร่วมกันปรุง ร่วมกันแต่งขึ้นมากับพวกหนูๆของเราก็ได้นะ ไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด (^_^)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขอดีในการเล่นดนตรี